ความเคลื่อนไหว ชายผ้าเหลืองกับการเมืองไทย

ความเคลื่อนไหว ชายผ้าเหลืองกับการเมืองไทย

ผ้าเหลืองแปดเปื้อนเพราะพระร่วมม็อบ พระเคลื่อนไหวทางการเมืองผิดพระธรรมวินัยจริงไหม ศานาพุทธและการเมืองไทยสัมพันธ์กันอย่างไร และพระควรมีบทบาททำอะไรได้บ้างในเวทีการเมือง

ตั้งแต่พระพุทธอิสระที่เข้าร่วมชุมนุม กปปส. ในปี พ.ศ. 2557 เพื่อเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนถึง “แก๊งแครอท” ที่เคลื่อนไหมเพื่อประชาธิปไตยปี 2563

เป็นที่วิพากษ์วิจารย์กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทยว่า พระภิกษุสงฆ์เคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นการผิดพระธรรมวินัยไหม เป็นการทำให้ศาสนาแปดเปื้อนหรือไม่

ผศ. กริช ภูญียามา อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายในงานเสวนา #ถ้าการเมืองดีโลกและธรรมจะสัมพันธ์กันอย่างไร ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ ว่า

สามารถทำได้ หากเข้าไปในท่าทีที่ไม่ใช้ความรุนแรง “ผมไม่มีปัญหาในการเลือกข้าง แต่ต้องแสดงออกด้วยสันติวิธี ไม่มีเรื่องท่าทีการใช้ความรุนแรง นั่นคือการรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้

แต่ถ้ามีการจัดตั้งกองกำลังของตนเองเป็นกิจจะลักษณะ มีการใช้กำลังทำร้าย การเข้าร่วมในลักษณะนี้ ผมมองว่าทำไม่ได้”

ส่วนสามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า หนึ่งในผู้ร่วมงานสัมนา เสนอว่า สามารถทำได้ เพราะไม่ผิดธรรมวินัย และเป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญ

“ในปัจจุบันทุกคนมีสิทธิ์ที่จะพูด จะคุย ถ้ามันถูกต้องตามหลัก การพูดและการแสดงความคิดเห็น ถูกต้องกับถูกใจ เช่น พระพูดเรื่องการเมือง ถูกใจฝั่งนี้

พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามพูดเรื่องการเมือง อีกฝ่ายก็บอกว่าพระสงฆ์ไม่ควรยุ่ง ระดับพระผู้ใหญ่ไปปลุกเสกวัตถุมงคล ไม่แน่ใจว่าถูกธรรมวินัยไหม พอไปทำแล้วถูกใจเรา เราเลยมองข้าม พระสงฆ์ควรจะมีความเท่าเทียมกันได้แล้ว”

การถกเถียงหัวข้อหลักๆ ได้แก่ การแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ การยกเลิกระบบสมณศักดิ์ และการตั้งรัฐโลกวิสัย

โดยภิกษุสงฆ์ที่เข้าร่วมสัมนา เช่น พระมหาไพรวัลย์ วรวณุโณ พระมหาเมธี สิริเมโธ และสามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า ตั้งคำถามที่น่าสนใจว่าหากมองกันถึงที่สุดแล้ว

“ศาสนาไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือการเมืองมายุ่งเกี่ยวกับศาสนา” พระมหาเมธี สิริเมโธ กล่าวในประเด็นนี้ว่า

“การเมืองกับคณะสงฆ์ยุ่งกันมาตลอดเลย 6 ตุลา จอมพลถนอม ก็ต้องมาอิงศาสนา คือบวชเข้ามาในไทย ใครกันแน่ที่มายุ่งกับการเมือง สงฆ์ออกไปก่อนหรือการเมืองเข้ามาก่อน”

“ตอนนี้รัฐเข้ามาครอบงำ หรือแทรกแซงการแต่งตั้งคณะสงฆ์ พรบ คณะสงฆ์ใครเป็นคนออก เห็นอีกทีเป็นประกาศของมหาเถระสมาคมแล้ว กฎระเบียบเหล่านี้ออกมา เพื่ออิงกับใคร”

ส่วน ผศ. กริช มองว่ามีระบบการแต่งตั้งคณะสงฆ์มีความเป็นการเมือง “ผมคิดว่าการทำให้เรื่องการแต่งตั้งคณะสงฆ์ขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจ

มันไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยเพราะระบอบแบบนี้ เราต้องการให้กษัตริย์เป็นกลางทางการเมือง”

อาจพูดได้ว่าสังคมปัจจุบันอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน เรื่องที่เคยเก็บเงียบ ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

และหนึ่งในประเด็นนั้นคือประเด็นศาสนากับการเมือง อนาคตอันใกล้นี้ พุทธศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทย จะก้าวไปในทิศทางใด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *