#บัณฑิตเจ็บใหม่ เด็กจบใหม่ไร้งานทำ

#บัณฑิตเจ็บใหม่ เด็กจบใหม่ไร้งานทำ

#บัณฑิตเจ็บใหม่ แฮชเเท็กซีรีย์เรื่องใหม่ที่ไม่ได้มีไว้แค่โปรโมท เมื่อชาวทวิตใช้แฮชแท็กนี้บอกเล่าเรื่องราวความลำบากในการหางานยุคโควิด

เมื่อตำแหน่งที่เปิดต้องการคนมีประสบการณ์ บริษัทหลายแห่งปรับฐานเงินเดือนน้อยลง เด็กจบใหม่จะทำอย่างไรเมื่อสิ่งที่ฝันไว้ไม่ได้เหมือนความจริง

เราลองมาดูตัวเลขนักศึกษาที่เรียนจบระดับปริญญาตรีกัน ในปี 2561 มีบัณฑิตปริญญาตรีเรียนจบประมาณ 303,000 ราย ในปี 2562 มี 355,000 ราย และ 2563 มีตัวเลขสูงถึง 500,000 คน เท่ากับว่า เรามีบัณฑิตพร้อมทำงานในช่วง 3 ปีหลังราวๆ 1 ล้านราย

เเต่ถ้าหากว่า เรามองดูอัตราการว่างงานที่สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจไว้ แค่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มีบัณณฑิตปริญญาตรีไม่รวมที่จบปี 2563 ตกงานสะสมสูงถึง 140,000 คน

ยิ่งถ้าเราบวกกับตัวเลขเด็กจบปี2563 ปีที่หางานแสนยากเพราะโควิดตัวเลขนักศึกษาจบใหม่ตกงานสะสมอาจสูงกว่า 500,000 ราย ประกอบผู้ใหญ่ที่ตกงานเพราะโควิดอีกราว 400,000 คน

ตามที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินไว้ ยิ่งทำให้การหางานของเด็กจบใหม่ไร้ประสบการณ์ยากยิ่งขึ้นไปอีก

แน่นอนว่าตัวเลขนี้ยังไม่ใช่ตัวเลขที่สำรวจอย่างครบถ้วนเพราะยังมีแรงงานนอกระบบ ผู้ที่ทำอาชีพอิสระ และอาชีพอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ

ประกอบกับการจ้างงานที่ชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2562 ทำให้แฮชแท็ก #บัณฑิตเจ็บใหม่ ยิ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลงไปอีกเมื่อนักศึกษาอีกเป็นแสนๆรายที่เรียนจบปี 2563 ต้องเตะฝุ่นมากกว่าปีไหนๆ

ตัวเลขว่างงานสูงเป็นแสนๆรายแต่ทำไมงาน JOB EXPO ล่าสุดที่จัดขึ้นที่ Bitec ถึงเคลมว่ามีตำแหน่งงานว่างรออยู่กว่าล้านตำแหน่ง ที่ตัวเลขตำแหน่งงานสูงได้ขนาดนั้นเพราะกว่าครึ่งเป็นงานเฉพาะทาง สายบริ สายอาชีพ ที่เปิดรับวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับ ม.6 ปวช. ปวส.

ส่วนสาขาที่รับบัณฑิตปริญญาตรีนั้นมีไม่ถึงครึ่งนึงของที่เปิดรับ ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทที่มาออกบูธก็เป็นไม่ได้ครอบคลุมงานแขนง ต่างจากนักศึกษาที่เรียนจบที่มีหลากหลายสาขาวิชา

หลายคนคงได้ยินคำว่า ไม่เลือกงานไม่ยากจน แต่จะให้ทำอย่างไรเมื่อนักศึกษาที่จบปริญญาตรีถ้าหากจะไม่เลือกงานก็ต้องยอมลดวุฒิ ลดเงินเดือนเพื่อให้ตัวเองมีงานทำ

คุณว่ามันใช่เรื่องหรือที่การตรากตรำเรียนมา 4 ปี เพื่อให้มีงานอะไรก็ได้ทำไม่สนว่าจะจบสาขาอะไรมาด้วยวุฒิอะไร

เราจะไม่โทษเด็กที่เรียนไม่ตรงสาย เราจะไม่บอกว่าโควิดทำให้โอกาสเด็กๆและคนอีกมากต้องหายไป แต่เราอยากให้ทุกคนมองว่าถ้าหากเทรนด์การจ้างงานในอนาคตจะเน้นไปที่สายอาชีพ สายไอที ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนจบระดับปริญญาก็ได้

ทำไมเรายังมองว่าการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยสำคัญที่สุดมีคุณค่าที่สุด

ถามว่างาน Job Expo ที่ผ่านมาช่วยหางานให้คนได้เยอะหรือไม่ก็ต้องตอบว่าเยอะแต่ก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนคนว่างงานปัจจุบัน

เรามีโอกาสได้คุยกับผู้ปกครองที่พาลูกชายซึ่งเรียนจบสายบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เรียนจบตั้งแต่ปี 2562 ได้งานทำเมื่อปลายปี แต่ก็ต้องมาตกงานเพราะพิษโควิดในปี 2563

คุณอโณทัยบอกว่า ใจหนึ่งก็อยากให้ลูกมีงานทำเร็วๆเพราะยิ่งตกงานนานไฟในการหางานก็ยิ่งจะน้อยลง แต่อีกใจก็อยากให้ลูกเจองานที่ชอบจะตรงสายหรือไม่ตรงสายก็ได้ แต่ยังไงก็ขอให้ลูกทำงานแล้วมีความสุขจริงๆ

ไม่ใช่สักแต่ว่ามีงานทำแล้วไม่มีความสุข เพราะทุกวันนี้จะคาดหวังว่าทำงานอะไรก็ได้เพื่อเก็บเงินเก็บทองนั้นมันเป็นเรื่องยาก แต่ขอให้ลูกมีความสุขกับงานแล้วไปได้ดีจะดีกว่า

รู้หรือไม่? เทรนด์การจ้างงานที่กำลังมาแรงที่สุดในทศวรรษนี้คือสายอาชีพ programmer/ software developer ซึ่งนักศึกษาจบใหม่ฝีมือเก่ง มีผลงานเจ๋งๆอาจะได้เงินเดือนสตาร์ทสูงถึง 40,000 บาท

ในขณะเดียวกันความไม่มั่นคงในอาชีพสำหรับทุกๆคนก็สูงขึ้นด้วยเช่นกันเมื่อหลายบริษัทใช้สัญญาจ้างชั่วคราวปีต่อปีมากขึ้น เพื่อมาแทนที่พนักงานประจำที่บริษัทต้องดูแลเรื่องสวัสดิการ เงินคุ้มครอง และอีกหลายๆอย่าง

เพราะบริษัทเห็นแนวโน้มความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจการจ้างงานเป็นรายสัญญาจะปลอดภัยกับบริษัทมากกว่า

ในขณะที่บริษัทจัดหางานก็แนะนำแรงงานทุกคนว่าให้อัพสกิลตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพราะยุคนี้สกิลเดียวไม่เพียงพอที่จะสร้างความมั่นคงให้อาชีพได้แล้ว

อ้างอิงสถิติการทำงานคนไทยไตรมาส 1 ปี 2563 :https://drive.google.com/…/182v7SCjBmb4slJOGu1l…/view…

สภาพัฒน์ห่วงคนตกงานเพิ่ม โดยสยามรัฐhttps://siamrath.co.th/n/175271

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *