ส่องนโยบายต่างชาติ แก้ปัญหามลพิษ

ส่องนโยบายต่างชาติ แก้ปัญหามลพิษ

ทุกคนมีสิทธิหายใจในอากาศสะอาด : ส่องนโยบายต่างชาติแก้ปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่ถล่มกรุงเทพฯตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา

ส่งผลให้อากาศในเมืองหลวงของไทยทยานติดท็อปเท็น จากการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของโลก ของเว็บไซต์ airvisual.com

มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงหลายปีมานี้ เพราะส่งผลต่อสุขภาพประชากรโดยตรง ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ

ทำให้ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่แล้วกำเริบ เช่น หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบ เพิ่มอัตราความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง ไปจนถึงทำให้แก่เร็วและอายุสั้นลง

โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า มลพิษในอากาศคร่าชีวิตคนจากทั่วโลกมากกว่า 6 ล้านคนต่อปีด้วยเหตุนี้ทำให้ต่างประเทศเริ่มวางแผนการรับมือกับมลพิษทางอากาศระยะยาว

The Features จึงพาไปส่องนโยบายต่างชาติ ว่าเริ่มทำอะไรกันแล้วบ้างเพื่อลดมลพิษทางอากาศ และคืนสิทธิการมีอากาศบริสุทธิ์ให้พลเมืองได้หายใจ

  • ลด-ยกเลิกการใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิง

ประเทศแถบยุโรปและเอเชียหลายประเทศ มีมาตรการอย่างจริงจังในการลดการใช้เครื่องยนต์ดีเซล เพราะถือเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ

รัฐบาลอังกฤษประกาศช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่าจะแบนการขายรถยนต์เชื้อเพลิงตั้งแต่ปี 2030 เช่นเดียวกันกับกรุงอัมสเตอร์ดัมที่ประกาศแบนเครื่องยนต์สันดาปภายในปีเดียวกัน

ส่วนเยอรมันออกมาตรการห้ามรถยนต์เก่าวิ่งในกรุงเบอร์ลิน ในขณะที่รถเครื่องยนต์ดีเซลถูกแบนในเมืองสำคัญๆแล้ว

ส่วนฝรั่งเศสจะเริ่มการแบนในปี 2040 ทางฝั่งเอเชียก็มีความตื่นตัวด้านมลพิษทางอากาศกันมาก อย่างกรุงโซล เกาหลีใต้ ประกาศห้ามซื้อรถยนต์เชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะแล้ว และจะทยอยเปลี่ยนรถแท็กซี่ รถบัส และรถขนส่งสาธารณะอื่นๆ ให้เป็นรถยนต์พลังงานสะอาดภายในปี 2025

ถัดมาไม่ไกล ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาแบนรถเครืองดีเซลและแทนที่ด้วยรถพลังงานไฟฟ้าในปี 2035

ฝั่งรัฐบาลอินเดีย ออกนโยบายห้ามรถยนตร์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่และรถ SUV แรงม้ามากกว่า 2000 ซีซี และมีการทดลองนโยบายสลับวิ่งวันคู่วันคี่

ส่วนเพื่อนบ้านอาเซียนไทยอย่างสิงคโปร์ประกาศเตรียมแบนรถเครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2040

  • ส่งเสริมการใช้รถโดยสาร-จักรยาน-เดิน

หลังจากล็อกดาวน์เนื่องจากการระบาดของโคโรนาไวรัสในอิตาลี พบว่ามลพิษทางอากาศลดลงกว่า 30-75% ทำให้ทางรัฐบาลเตรียมแผนลดการใช้รถในเมือง พร้อมส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน

โดยในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมืองมิลานได้เปลี่ยนพื้นถนนกว่า 35 กิโลเมตรให้เป็นทางจักรยานและทางเดินเท้า

ส่วนฝรั่งเศสทุ่มเงินกว่า 22 ล้านดอลล่าห์สหรัฐส่งเสริมการปั่นจักรยาน ตั้งแต่ช่วยค่าซ่อมจักรยานไปจนถึงการบริการที่จอดรถเมืองหางโจวของจีนเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 อย่างมาก โดยเฉพาะมลพิษที่เกิดจากไอเสียรถยนต์

อย่างไรก็ดีในปี 2008 จีนได้เริ่มโปรเจ็คการแชร์จักรยาน (Bike Sharing)โดยมีการจัดวางจักรยานไว้ให้ประชนชนได้ใช้ฟรีๆ สำหรับการเดินทางในระยะใกล้ ซึ่งนอกจากจะช่วยคลายปัญหารถติดแล้ว ยังลดมลพิษทางอากาศด้วย

  • เพิ่มพื้นที่สีเขียว

อย่างที่ทราบกันว่า ต้นไม้สามารถดูดมลพิษทางอากาศและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ให้เราได้ นอกจากนี้ Prashant Kumar ผู้อำนวยการศูนย์ Global Centre for Clean Air Research ของมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ ชี้ว่าพื้นที่สีเขียวช่วยดูดซับฝุ่น PM ได้

โดยตรงด้วยเหตุนี้ ทำให้จีนตั้งเป้าปลูกต้นไม้บนพื้นที่กว่า 84,000 ตารางกิโลเมตรเพื่อลดมลภาวะทางอากาศ

ส่วนสิงคโปร์เตรียมปลูกต้นไม้กว่า 1 ล้านต้นเพื่อรักษะระบบนิเวศน์และลดมลภาวะทางอากาศด้วย สืบเนื่องจากการเติบโตของเมืองที่ใหญ่ขึ้น

  • หันไปใช้พลังงานทดแทน

รู้หรือไม่ ปัจจุบัน 95% ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศคอสตาริกามาจากพลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แสงแดด และลม พร้อมตั้งเป้าใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดในปี 2021

เช่นเดียวกับนิการากัว ประเทศในอเมริกากลาง ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม แสงแดด และความร้อนใต้พิภพข้ามมาฝั่งยุโรป

ประเทศสก็อตแลนด์ สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้มากถึง 98% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศ

ส่วนเดนมาร์คผลิตพลังงานกว่าครึ่งของประเทศจากพลังงานจากลมและแสงแดด โดยตั้งเป้าว่าจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนทั้งหมดในปี 2050

อ้างอิง: https://www.climatecouncil.org.au/11-countries-leading…/https://www.transportenvironment.org/…/after…https://www.theguardian.com/…/milan-seeks-to-prevent…https://www.weforum.org/…/france-air-pollution-cycling…/https://www.unenvironment.org/…/bicycle-comeback…https://www.bbc.com/…/20200504-which-trees-reduce-air…https://futurism.com/china-plant-32400-square-miles-trees…https://www.weforum.org/…/singapore-plant-million…/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *