เทรนด์ใหม่ แบรนด์แห่เปลี่ยนชื่อให้ local

เทรนด์ใหม่ แบรนด์แห่เปลี่ยนชื่อให้ local

นับว่าเป็นกระแสไม่น้อยสำหรับชื่อ“อุบลพรรณ”ที่เป็นชื่อรีแบรนด์ใหม่จาก โอ บอง แปง Au Bon Pain ที่ได้เปลี่ยนชื่อเพื่อทำมาร์เก็ตติ้งจนมีแบรนด์อื่นๆเริ่มแห่กันทำโดยใช้คำที่ local เข้าถึงง่าย ซึ่งล่าสุดมี 3 แบรนด์ที่อยู่ในเทรนด์นี้

1. “อุบลพรรณ”

ชื่อไทยของแบรนด์ โอ บอง แปง Au Bon Pain ร้านอาหารและเบเกอรี่แฟรนไชล์ในไทยกว่า 60 สาขาที่พึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น”อุบลพรรณ” โดยมีสาเหตุมาจากการเรียกชื่อแบรนด์ผิดของคนไทย และยังมีคนไทยบางคนเรียกว่าอุบลเพ็ญอีกด้วย ทางแบรนด์จึงใช้โอกาสนี้ในการทำการตลาดกับชื่อที่คนไทยเรียกอย่างคุ้นชิน ต่อมาได้ทำเป็นแคมเปญชัดเจนและมีกิจกรรมที่เรียก engagement จากผู้บริโภคได้ดีเลยที่เดียว ตัวอย่างแคมเปญ

แคมเปญRIP อุบลพรรณ เป็นภาพPre Ads ที่เรียกความสนใจอย่างมากโดยเล่นคำว่า Rest In Peace แต่จริงๆคือ Renewed Identity Personality เป็นการไว้อาลัยให้ภาพลักษณ์แบรนด์แบบเก่า เพื่อพร้อมรีแบรนด์ใหม่ต่อมาได้ลงรูปกับข้อความที่ว่า “สวัสดีเราชื่อ น.ส. อุบลพรรณ เรียกสั้นๆว่าเฌอแปง สวยล่ะสิ” เพื่อเป็นการรีแบรนด์ใหม่ และยังมีแคมเปญเพื่อคนที่ชื่อ”อุบลพรรณ”เฉพาะในการรับกาแฟและขนมฟรี

2. “บักขิ่น”

ชื่อไทยของแบรนด์ บาสกิ้น รอบบิ้น Baskin Robbins ธุรกิจแปรนไชล์ร้านไอศครีมพรีเมี่ยม มีทั้งหมด 34 สาขา สาขาส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทมัดแมน จำกัด (มหาชน) หรือ MM บริษัทเดียวกับโอ บอง แปง โดยหลังจากใช้ชื่อไทยอย่างบักขิ่นและมีแคปชั่น”เรา “บักขิ่น” เอง จำข่อยได้บ่’ที่เพิ่มความน่ารักอย่างภาษาอีสาน ก็ทำให้เป็นที่สนใจในโลกออนไลน์เช่นกัน ต่อมาก็คอยปล่อยโฆษณาเรื่อยๆ เช่น การแจกคูปองซื้อ 1 แถม 1 โปรโมชั่นลดราคา

แต่ไม่นานก็กลับมาใช้บาสกิ้น รอบบิ้นเหมือนเดิม พร้อมทิ้งท้ายแคมเปญด้วย แคปชั่น”หมดวันหยุดยาว..บักขิ่นขอลากลับเข้าเมืองไปทำงานทำการก่อนเด้อ..” ซึ่งถือเป็นการใช้กระแสได้ดี ไม่นานเกินไปและทำให้ผู้บริโภคจดจำได้

3. “เชสเด้อ”

ชื่อไทยของแบรนด์ Chester’s ร้านอาหารแฟรนไชล์ฟาสท์ฟู้ดที่มีมากกว่า 200 สาขาทั่วประเทศ ที่อยู่ในเครื่อบริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อไทยเป็นเชสเด้อที่มาในคอนเซ็ปต์ชื่อแบบแบรนด์คนไทยหัวใจสามช่า พร้อมเล่นคำว่าเด้อ อย่าง”เชส..เด้อนางเด่อ เด้อ เด้อ นาง เด่อ ตึ้ง.ตึ้ง.ตึ้ง.ตึ้ง”

นอกจากชื่อไทยแล้วในอดีต เชสเตอร์ยังเคยเปลี่ยนชื่อแบรนด์มาแล้วถึง 3 ครั้ง เริ่มจากชื่อ เชสเตอร์ กริลล์ ชิคเก้น เพื่อเน้นเมนูไก่ ในสาขาแรกต่อมาใช่ชื่อ เชสเตอร์ กริลล์” เพื่อเปิดกว้างสำหรับรายการอาหารที่หลากหลายยิ่งขึ้น ต่อมาเปลี่ยนเป็น เชสเตอร์ เพื่อให้สั้นกระชับและไม่เน้นแค่เมนุย่างอย่างเดียว ในอนาคตเชสเตอร์จะมีลูเล่นกับชื่อแบรนด์ย่างไร ต้องคอยติดตาม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *