เทียบค่ารถไฟฟ้าทั่วโลก

เทียบค่ารถไฟฟ้าทั่วโลก

🚅กรุงเทพชีวิตดีๆ ที่ลงตัว🤔 จิงเหรอ?
🌏เรามาดูกันว่าระบบขนส่งในเมืองใหญ่เป็นอย่างไร ราคาเฉลี่ยเท่าไร ครอบคลุมบริการอะไรบ้าง และคุณภาพเป็นอย่างไร

รถไฟฟ้า สิงคโปร์

📣สิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระบบขนส่งมวลชนดีที่สุดเป็นอันดับต้นๆของโลกและบริษัทจากสิงคโปร์นี้เองที่เป็นผู้รับเหมาทำระบบรวมบัตรให้ BTS และ MRT ของไทย

โดยระบบขนส่งมวลชวนของสิงคโปร์จะใช้บัตร EZ Link ที่ครอบคลุมระบบรถไฟฟ้า รถไฟราง รถบัส แถมใช้จ่ายค่าทางด่วน ค่าจอดรถ ค่าอาหารกับร้านที่เข้าร่วมโครงการ และกำลังพัฒนาระบบให้ใช้กับระบบ Touch N Go ของมาเลเซียได้ด้วย

💸โดยค่าโดยสารเฉลี่ยจะอยู่ที่ครั้งละ 35 บาท สิงคโปร์ไม่มีกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ

🚩โดยอาชีพที่มีค่าแรงน้อยที่สุดโดยเฉลี่ย คือพนักงานทำความสะอาดที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว โดยมีค่าแรงที่ 1200 สิงคโปร์ดอลล่าร์ หรือ 27,000 บาทต่อเดือน ทำให้ทุกอาชีพสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนของสิงคโปร์ได้

รถไฟฟ้า ฮ่องกง

🛎ฮ่องกง
อีกหนึ่งประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดในโลกโดยมีบัตร Octopus card เป็นตัวกลางใช้จ่ายค่าเดินทางใช้ได้ตั้งแต่ ขึ้นรถไฟ MRT รถราง รถเมล์ สามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 และร้านอาหารฟาสฟู๊ด

นอกจากนี้ยังใช้จ่ายค่าจอดรถ ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวเรียกได้ว่าบัตรใบเดียวครอบคลุมทุกบริการในชีวิตประจำวัน

🚩ค่าโดยสารเฉลี่ยนแล้วก็จะตกอยู่ที่เทียวละ 46 บาท ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 150 บาทต่อชั่วโมง

รถไฟฟ้า ลอนดอน

🇬🇧ลอนดอน
อีกหนึ่งเมืองยอดนิยมสำหรับการท่องเที่ยว ซึ่งลอนดอนเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบรางที่ครอบคลุมแทบจะทุกโซนของเมืองรวมถึงเขตชานเมือง ซึ่งระบบ Oyster ที่ครอบคลุมรถบัส รถไฟใต้ดิน รถไฟรอบเมือง รถราง กระเช้าลอยฟ้า และเรือโดยสาร บัตรนี้จะคิดค่าโดยสารตามโซนไม่ใช่จำนวนสถานี แม้จะมีค่าโดยสารต่อครั้งที่ค่อนข้างสูง

แต่ถ้าหากเดินทางอยู่ในโซนที่กำหนดก็จะไม่ต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มเติม เช่นการเดินทางด้วยรถบัสในโซนใดโซนหนึ่งโดยไม่ออกนอกโซนจะจ่ายค่าเดินทางเพียงครั้งเดียวและขึ้นรถบัสกี่ครั้งก็ได้ในเวลา 1 ชั่วโมง เช่นเดียวกันกับรถไฟใต้ดิน ถ้าหากเดินทางในโซน 1 และ 2 ภายใน 1 วันจะเดินทางภายในโซนกี่ครั้งก็ได้จะเหมาจ่ายค่าโดยสารครั้งเดียวที่ประมาณ 280 บาท

🚩ค่าโดยสารโดยเฉลี่ยนจากทุกวิธีการเดินทางในลอนดอนะจะอยู่ที่ราว 80-90 บาท โดยค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 350 บาทต่อชั่วโมง

รถไฟฟ้า โตเกียว

⛩โตเกียว
ญี่ปุ่นเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบขนส่งที่ตรงเวลาที่สุดในโลก โดยเมื่อ2ปีที่แล้วมีนายสถานีและคนขับรถไฟในโตเกียวออกมาขอโทษต่อสาธารณะที่รถไฟออกก่อนกำหนด 25 วินาที! ระบบขนส่งมวลชนของญี่ปุ่นโดยหลักจะใช้รถไฟและรถไฟใต้ดินเป็นหลัก โดยแทบจะไม่ต้องนั่งรถบัสต่อเลยเพราะมีระบบรางที่ครอบคลุมแทบทุกพื้นที่ของเมือง

🚩โดยโตเกียวมีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 71 บาท และมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 265 บาทต่อชั่วโมง

รถไฟฟ้า กรุงเทพ

🏙กรุงเทพฯ – BTS และ MRT
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ขึ้นชื่อว่ามีราคาแพงและสวนทางกับค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ รวมถึงปัญหาขบวนรถไฟไม่เพียงพอในชั่วโมงเร่งด่วนและบ่อยครั้งที่มีปัญหาขัดข้อง จนมีคนสร้างเพจเฟสบุ้ค “วันนี้รถไฟฟ้าเป็นอะไร” ขึ้นมารายงานปัญหา
โดยค่าโดยสาร

🚩เฉลี่ยของ BTS อยู่ที่ 37.50 บาท และ MRT อยู่ที่ 45.50 บาท ซึ่งสวนทางกับค่าแรงขั้นต่ำที่อยู่ที่ 40 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งเท่ากับว่าเราต้องทำงาน 1 ชั่วโมง ขณะเดียวกันถ้าเทียบค่าโดยสารกับประเทศไต้หวันที่ค่าเงินใกล้เคียงกับไทยมากที่สุด (1ไต้หวันดอลล่าร์ เท่ากับ 1.1 บาท) ค่าโดยสารก็ใกล้เคียงกันที่เฉลี่ย 42.50 บาท แต่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 140 บาทต่อชั่วโมง

❗ปัจจุบันผู้ใช้บริการต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าค่าโดยสารในกรุงเทพฯแพงจริงและไม่คุ้มค่ากับบริการที่ได้รับรถไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ถ้ามีขบวนรถไฟฟ้ามากขึ้นทำให้ใช้เวลารอแต่ละขบวนน้อยลง ไม่ติดขัดบ่อยและดีเลย์เป็นเวลานาน สถานีรถไฟฟ้าควรเข้าถึงโซนที่อยู่อาศัยจริงๆไม่ต้องต่อรถโดยสารประเภทอื่น

ในขณะที่กระทรวงคมนาคมประกาศว่าระบบบัตรโดยสารรถไฟฟ้าจะใช้ได้ทั้ง BTS และ MRT จะรวมอยู่ในบัตรใบเดียว และจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคมปีนี้ หลังจากที่รอกันมาหลายปีมาก

👉อย่างไรก็ดีจะราคาเดินทางของทั้งสองระบบจะยังคงราคาเดิมและไม่มีข้อมูลว่าจะทำการซื้อเหมาเที่ยวได้หรือไม่ เท่ากับว่าการรวมบัตรอาจจะไม่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้ดีกว่าเดิมเท่าไร

#TheFeatures
#รถไฟฟ้าไทย #BTS #MRT
#รถไฟฟ้าโลก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *