กระเเส “ดีเบต” กำลังมาเเรงในสังคมไทย บอกอะไรกับเรา

กระเเส “ดีเบต” กำลังมาเเรงในสังคมไทย บอกอะไรกับเรา

กระเเส “ดีเบต” หรือ “โต้วาที” กำลังมาเเรงในสังคมไทย ณ ขณะนี้ บอกอะไรกับเรา

รอบสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เห็น การดีเบตจากทั้งฝั่งซ้ายเเละขวาในรายการชื่อดังรายการหนึ่ง เมื่อก่อนการดีเบต ออกจะดูน่าเบื่อ เเละไม่เป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่

เเต่ทำไมสมัยนี้หลายคนต่างตั้งตารอดูการดีเบต มากกว่าซีรีส์หรือละครไทยเสียอีก เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย

กองบรรณาธิการ The Features วิเคราะห์มาให้อ่าน สังเวียนวาทะที่พึ่งจบไปสดๆ ร้อนๆ ระหว่าง จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ดาวดิน กับ อุ๊ หฤทัย เเละอีกหลายคู่อย่าง

ปารีณา ไกรคุปต์ และ “มาย” ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ หรือ จะรวมไปถึงศึกระหว่าง “ฟอร์ด” ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี กับ สิระ เจนจาคะ

ไม่ว่าจะเรื่องมารยาทระหว่างดีเบต ที่พวกเขาเหล่านี้เเสดงออกมา หรือ การใช้เหตุผลสนับสนุนแนวคิด ทำให้ผู้คนโลกออนไลน์ วิพากษ์วิจารณ์อย่างถึงพริกถึงขิง

แล้วจุดประสงค์ในการดีเบตจริงๆแล้วคืออะไร ทำไมต้องดีเบต และการดีเบตส่งผลดีอย่างไรต่อวัฒนธรรมโต้เถียงทางการเมืองไทย

การดีเบต คือ การโต้เถียงกันของสองฝั่ง โดยมีหัวข้อในการโต้เถียง โดยสองฝั่งจะให้เหตุผลสนับสนุนหรือคัดค้านหัวข้อที่ตั้งไว้ โดยมีเป้าหมายคือการ “โน้มน้าว” อีกฝั่งส่วนการดีเบตเชิงการเมือง

มีเป้าหมายต่างออกไป หากจะยกตัวอย่าง คงต้องใช้ดีเบตอันเลื่องชื่อระหว่างสองแคนดิเดตชิงตำแหน่งประธานาธิปดีสหรัฐ

ที่น่าสังเกตคือการดีเบตแคนดิเดตประธานาธิปดีสหรัฐเกิดขึ้นครั้งแรกพร้อมกับเทคโนโลยีถ่ายทอดสด ในค.ศ. 1960 ระหว่าง John F. Kennedy กับ Richard Nixon

ก่อนหน้านั้น ประชาชนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแคนดิเดตผ่านจดหมายหาเสียงและการปราศรัย ซึ่งเป็นข้อความที่ผ่านการขัดเกลามาดีแล้ว

ต่างกับการดีเบตที่ต้องถาม-ตอบ กันแบบสดๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้ประชาชนสามารถดูการดีเบตระหว่างสองแคนดิเดต และเลือกประธานาธิปดีที่สามารถตัดสินใจเรื่องฉุกเฉินได้ทันท่วงที

ย้อนกลับมาดูในประเทศไทยที่กระแสดีเบตกำลังร้อนแรง สาเหตุหนึ่งอาจเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ทำให้ประชาชนสามารถชมการดีเบตได้อย่างสดๆผ่านช่องทางออนไลน์

หรือถ้าไม่ว่างก็สามารถโหลดวิดิโอออนไลน์ไว้ดูทีหลังได้ นอกจากนั้น เฟซบุ๊กหรือยูทูปยังเปิดช่องทางให้ผู้ชมได้มีโอกาสแสดงความเห็น

และนำเอาประเด็นที่ผู้ดีเบตโต้เถียงในสมรภูมิไปวิพากษ์วิจารย์บนช่องทางต่างๆ เมื่อมองในมุมนี้ เราอาจพูดได้ว่า จริงๆแล้วการดีเบตมิใช่เพื่อดูว่าใครชนะ

แต่ผู้ชมสามารถรับข้อมูลสองฝั่งและตัดสินใจได้ว่า ฝั่งใดที่เสนอความเห็นได้น่าเชื่อถือกว่า ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจเชิงการเมือง

แต่ในอีกแง่หนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า การดีเบตเชิงการเมืองในขณะนี้ นับเป็น entertainment ชั้นดีอีกรูปแบบหนึ่ง

อ้างอิง :

https://worldview.stratfor.com/…/purpose-presidential…

https://www.history.com/…/us…/kennedy-nixon-debates

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *