คนเร่ร่อนเพิ่ม ผลพวงพิษเศรษฐกิจทรุด

คนเร่ร่อนเพิ่ม ผลพวงพิษเศรษฐกิจทรุด

“ถ้าวันไหนไม่มีก็อด กินน้ำเอา ลองหางานแล้วไม่ได้ ตอนนี้อยากมีงานทำมีเงินติดตัว จะได้ดินรนต่อ ตอนนี้ไม่มีอะไรสักอย่างเลย” นี่คือเสียงของพงษ์ หนึ่งในคนเร่ร่อน “หน้าใหม่” ที่จำต้องอาศัยทางเท้าเป็นที่พักพิง

หลังตกงานเพราะการระบาดของโควิดทำไมคนเร่ร่อนไม่หางานทำ ? – งานมีเเต่ไม่ทำ / ไม่มีงานให้ทำกันเเน่ ปัญหาคนเร่ร่อนในสังคมเป็นปัญหาที่ ถกเถียง

เเละพยายามเเก้กันมานาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างงัดนโยบายต่างๆออกมาใช้ หากเดินลัดเลาะตามอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปจนถึงสนามหลวง หรือตามสถานีรถไฟต่างๆ

เรายังคงพบคนเร่ร่อนจับจองพื้นที่หลับนอนอยู่จำนวนมากยิ่งแก้ยิ่งแย่ในปี 60 มีคนเร่ร่อนทั่วกรุงเทพฯจำนวน 3,630 คน ปี 61 มีคนเร่ร่อนจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3,993 คน และเพิ่มขึ้นอีกเป็น 4,392 คนในปีถัดมา

ส่วนในปีนี้ ผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนเร่ร่อนเพิ่มขึ้นมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ในบางพื้นที่แม้รัฐบาลมีนโยบายแก้ปัญหาบุคคลเร่ร่อนมาเป็นสิบปี

ทั้งการส่งเสริมสวัสดิการครอบครัว จัดบริการที่พักอาศัย และการฝึกอบรมอาชีพให้คนเร่ร่อน แต่จากสถิติ กลับพบว่ามีคนเร่ร่อนเพิ่มขึ้นทุกๆปีเอ (นามสมมุติ) เป็นคนเร่ร่อนที่อาศัยอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมากว่า 20 ปี

เขาเล่าว่า “หางานลำบาก เศรษฐกิจบ้านเราทุกวันนี้ก็ย่ำแย่ ยิ่งช่วงโควิดนี่ไม่อยากพูด หนักเลย ปกติหาตัดกิ่งไม้ ทำนั่นทำนี่ เขาเรียกก็ไป แต่พอโควิดมาไม่มีงานเลย รอกินข้าวกล่อง (ที่แจก)อย่างเดียว”

เก่าไปใหม่มาปัจจุบัน มีคนเร่ร่อนอาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ 4,432 คน แม้ตัวเลขจะเพิ่มไม่มากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่อัจฉรา สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน อธิบายว่า

เพราะคนเร่ร่อนรุ่นเก่าบางส่วน “เสียชีวิต” และมีคนเร่ร่อน “หน้าใหม่” เข้ามาแทน จากผลพวงการระบาดของโควิด “หลายคนเป็นหน้าใหม่ คนใหม่ที่อยู่ในภาวะตกงาน

ซึ่งจริงๆแล้วอันนี้น่าเป็นห่วง เพราะกระทบกับคนที่เคยมีรายได้ คนที่เคยหาเช้ากินค่ำ แต่ด้วยเศรษฐกิจ โรงงานปิดตัว หารายได้ไม่ได้ เคยมีเงินเช่าบ้าน ตอนนี้ไม่มี เลยต้องออกมาใช้ที่สาธารณะในการหลับนอน”

มูลนิธิอิสรชนรายงานว่าสาเหตุที่ทำให้มีคนเร่ร่อนหน้าใหม่มากขึ้น เป็นผลกระทบโดยตรงจากโควิด เป็นลูกจ้างรายวันและไม่มีเงินเก็บ ไม่มีเงินเดินทางกลับภูมิลำเนา ไม่มีบ้านที่ต่างจังหวัดให้กลับ

นอกจากนั้นยังเข้าไม่ถึงการเยียวยาของรัฐ ส่วนความเสี่ยงที่คนเร่ร่อนหน้าใหม่เผชิญคือ มีแนวโน้มที่จะรับจ้างทำงานผิดกฎหมาย และการเผชิญกับภาวะซึมเศร้า

นอกจากนี้ คนเร่ร่อนที่อยู่ในถนนมานานสามารถต้านทานเชื้อโรคในที่สาธารณะได้ แต่คนเร่ร่อนหน้าใหม่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 กระจายอยู่ในอากาศของมหานครกรุงเทพ

เสียงจากคนเร่ร่อนหน้าใหม่ พงษ์ เป็นหนึ่งคนที่ตกงานเพราะโควิด ก่อนหน้านี้ เขาเคยทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยในจังหวัดชลบุรี ก่อนจะตกงานและไม่มีเงินกลับบ้าน จึงมาอาศัยอยู่บนทางเท้าในกรุงเทพฯ

“อยู่ที่นี่สามเดือน ก่อนหน้านี้อยู่หัวลำโพงสองเดือน อาศัยคนใจบุญมาแจกข้าว เขามาแจกเรื่อยๆ ถ้าวันไหนไม่มีก็อด กินน้ำเอา ลองหางานแล้วไม่ได้”

“ตอนนี้อยากมีงานทำมีเงินติดตัว จะได้ดินรนต่อ ตอนนี้ไม่มีอะไรสักอย่างเลย อยากทำงาน อยากหาเงินหาทอง ทางบ้านเราก็ลำบากอยู่แล้ว ชีวิตที่นี่ก็ปกติ เขาอยุ่ได้เราก็อยู่ได้”

หรือรัฐสวัสดิการคือทางออก? ปัจจุบัน มีโครงการต่างๆเข้าช่วยเหลือคนเร่ร่อน แต่อัจฉราชี้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “รัฐสวัสดิการ”

“ถ้ารัฐสวัสดิการเราแข็งแรง คนจะบาดเจ็บน้อย จะได้รับผลกระทบน้อย คนที่อยู่ในที่สาธารณะคือปลายปัญหาของการพัฒนาเมือง พัฒนาประเทศในทุกด้าน ปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ การเมือง ทำให้เขาหลุดออกมาอยู่ตรงนี้”

สำหรับคำตอบ จากคำถามช่วงต้น ที่ว่า ทำไมคนเร่ร่อน ไม่หางานทำ หรือเพราะ พวกเขาหลายคนพยายามหางานในตลาดเเรงงานเเล้ว

แต่ในขณะที่เศรษฐกิจดิ่งลง ตำแหน่งงานน้อยลง แรงงานหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้เป็นการยากที่กลับไปหางานใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจเเบบนี้

“สังคมไทยมองภาพสุดท้าย ไม่รู้จักดูแลตัวเอง ไม่ยอมเก็บเงิน ไม่ได้มองที่ต้นเหตุ มองภาพตีตราไปเลยว่าเกลียดพวกไม่ทำมาหากิน แต่คุณไม่รู้ว่ากว่าเขาจะอยู่ตรงนี้ เขาล้มเขาลุกมาเเล้วกี่รอบ และเผชิญอะไรบ้าง” อัจฉรากล่าวปิดท้าย

อ้างอิง :

http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program1-4-2.jsp?t_ser=13085&gcode=&Txt_condition=%BA%D8%A4%A4%C5%E0%C3%E8%C3%E8%CD%B9

https://propholic.com/…/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0…/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *