ถอดบทเรียนจากประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองและข้อเสนอต่อสังคม

ถอดบทเรียนจากประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองและข้อเสนอต่อสังคม

ในวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมาได้มีการเสวนาถอดบทเรียนจากประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองและข้อเสนอต่อสังคม ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยจุดประสงค์หลักของงานนี้ก็เพื่อนำประสบการณ์ของแกนนำการชุมนุมในอดีตมาแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยวิถึระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง 

โดยในงานมีแกนนำในแต่ละเหตุการณ์การชุมนุมในอดีตมาเล่าถึงประสบการณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีผู้ร่วมเสวนาคือ คนเดือนตุลาและผู้ต้องหา นายสมชาย หอมละออ กล่าวว่า  นักศึกษาสามารถจัดการชุมนุมได้แต่การจำกัดสิทธิเสรีภาพจะยิ่งยุยงให้แสดงความก้าวร้าว การชุมนุมในปัจจุบันนี้ คือ วิกฤตของศรัทธา เป็นวิกฤษทางการเมือง เราไม่สามารถพัฒนากลไกทางการเมืองเพื่อแก้ปัญหาตวามขัดแย้งทางการเมืองได้ เพราะการแทรกแซงของอำนาจนอกระบบ
  • เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 มีผู้ร่วมเสวนาคือ แกนนำนักศึกษาพฤษภาทมิฬ 35  นายชูวัส ฤกษ์ศิริมีสุข เล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้นว่าเป็นการชุมนุมที่เริ่มเพียงนักศึกษาไม่กี่คน แต่ต่อมาก็มีผู้ชุมนุมมากขึ้น หลังจากเหตุการณ์นั้นก็มีการปฏิรูปสื่อ  การเกิดรัฐธรรมนูญใหม่ , การเรียกร้องนายกคนใหม่ ทำให้เกิด”ระบอบคนดี” ซึ่งต้องเป็นคนมีอำนาจ มองว่ากลุ่มนักศึกษารู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไร แต่รัฐก็ควรต้องดูแลความปลอดภัยในที่ชุมนุมด้วย
  • เหตุการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีผู้ร่วมเสวนาคือ แกนนำพธม.  คุณพิภพ ธงไชย มองว่า ความรุนแรงน้้นเกิดจากตำรวจ และรัฐบาล ไม่ได้เกิดจากผู้ชุมนุมแม้อยู่ที่รัฐสภา 120 วัน การยิงM79 ที่เกิดขึ้นในวันนั้น จนมาถึงวันนี้ยังไม่มีใครทราบว่าใครเป็นคนทำ  คนที่กำหนดความรุนแรง คือ อำนาจรัฐเท่านั้นเพราะรัฐเป็นผู้ที่รู้วิถีกระสุน 
  • เหตุการณ์การชุมนุมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)  มีผู้ร่วมเสวนาคือ ประธานแนวร่วมนปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ มองว่า การตัดสินใจลงถนนคือการตัดสินใจต่อสู้ทางการเมืองไม่ใช่ทางการทหาร จุดแข็งของการชุมนุมคือ สันติวิธี แต่แม้เราจะออกแบบการชุมนุมไว้ดีแค่ไหนกเราก็สู้รัฐไม่ได้ เพราะ”การสร้างสถานการณ์” การสร้างความรุนแรง การตั้งข้อหาออกหมายจับ และ การสร้างสถานการณ์ยังทำให้มีการฆ่าโดยชอบธรรม
  • เหตุการณ์การชุมนุมคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) มีผู้ร่วมเสวนาคือ แกนนำกปปส. นายสาทิตย์  วงศ์หนองเตย มองว่าทุกการชุมนุมต้องมีเงื่อนไข เช่น ยุค กปปส.ที่ทุกคนออกมาเพราะจะมีการนิรโทษกรรมคนทุจริต คอร์รัปชั่น ในยุคนั้นมีความเชื่อว่า เหตุการณ์จะดีขึ้นถ้าไม่มีคนแสดงออกความคิดเห็น แต่ที่จริงแล้วควรอยู่ด้วยกันได้แม้ความเห็นต่าง และเตือนแก่ผู้ชุมนุมว่า ให้ระวังการสร้างข่าวอาจเกิดความรุนแรงได้
  • เหตุการณ์การชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง มีผู้ร่วมเสวนาคือ  แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง นางสาวณัฏฐา มหัทธนา กล่าวว่าในยุคคสช.มีความรุนแรงทางร่ายกายน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต แต่เกิดพรบ.การชุมนุมสาธารณะที่ทำให้การจัดการชุมนุมยากลำบากขึ้น ตั้งข้อหาง่ายขึ้น และเกิดความรุนแรงรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่แค่แกนนำที่ถูกดำเนินคดี แต่รวมไปถึงผุ้ชุมนุมด้วย และมองว่า สว.นั้นมีส่วนทำให้เกิดรัฐธรรมนูญได้

ซึ่งในงานก็มีการแลกเปลี่ยนมุมมองของนักวิชาการและผู้สื่อข่าว

โดยนักวิชาการคือศาสตร์ตราจารย์ ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่ให้ความเห็นไว้ว่า

  •  สังคมไทยเป็นสังคมมายาคติที่ดูเหมือนเป็นสังคมที่สงบสุข 
  • มองว่านักศึกษามีอายุในโลกออนไลน์มากกว่าคนรุ่นเก่า 
  • ปัจจุบันแก้ปัญหาโดยใช้กฎหมายนำ ทหารตาม และต่อด้วยการเมืองทั้งที่เป็นเรื่องการเมือง ควรใช้วิธีแก้ปัญหาการเมืองก่อน
  •  ระวังความรุนแรง ความเสี่ยง จากผลข้างเคียงของความสุดโต่งของความคิดและการกระทำ

ในส่วนของผู้สื่อข่าวคือ คุณฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในทุกเหตุการณ์การชุมนุม 20 ปีหลัง ให้ความเห็นว่า

  •  สื่อนั้นเป็นความหวังของสังคม สื่อต้องรายงานสิ่งที่นักศึกษาออกมาพูดเพื่อให้คนภายนอกเข้าใจว่านักศึกษากำลังเรียกร้องอะไรอยู่
  •  สื่อนั้นมักเป็นเครื่องมือในการสร้างสถานการณ์ สื่อทั้งหลายแห่งควรระวังในจุดนี้
  •  จากการชุมนุมวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา มีการตั้งคำถามถึงขอบเขตการรายงานข่าวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และสื่อกำลังหาคำตอบให้กับเรื่องนี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *