มองความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยผ่านสายตา “ไอติม” พริษฐ์

มองความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยผ่านสายตา “ไอติม” พริษฐ์

ความไม่เท่าเทียมในสังคมไทยมีการถกเถียงกันมานานแล้ว ทั้งในมิติด้านรายได้ โอกาสทางการศึกษา หรือการเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน ผ่านสายตานักวิชาการ นักการเมือง นักศึกษา

หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่ถกปัญหานี้อยู่บ่อยครั้ง คือ “ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์

โดยล่าสุดเจ้าตัวพึ่งก่อตั้งบริษัท Startdee แอพลิเคชั่นที่จะช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไอติมอธิบายว่า

สำหรับเขาแล้วความเหลื่อมล้ำแบ่งออกเป็นสองส่วน หนึ่งคือความเหลื่อมล้ำที่ไม่ยุติธรรม คือความเหลื่อมล้ำที่คนสองคนมีโอกาสในชีวิตไม่เท่ากัน อาจเป็นเพราะกฎหมาย ฐานะทางครอบครัว โอกาสในการเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน

ซึ่งความเหลื่อมล้ำนี้เป็นความเหลื่อมล้ำที่บุคคลๆหนึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนอีกอย่างคือความเหลื่อมล้ำที่ยุติธรรม ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำที่คนสองคนมีพื้นฐานเท่ากัน หากแต่คนขยันมีโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

ทั้งนี้ ไอติมมองว่าในประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำส่วนใหญ่ คือ ความเหลื่อมล้ำที่ไม่ยุติธรรม “ถ้าให้นิยามความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำส่วนใหญ่คือความเหลื่อมล้ำที่ไม่ยุติธรรม ปัจจุบันสองคนเกิดมาในประเทศนี้โอกาสในชีวิตไม่เท่ากัน”

“เราอยู่ในประเทศที่คนหนึ่งเปอร์เซ็นที่รวยที่สุดครอบครองทรัพย์สิน 67 เปอร์เซ็น เรายังอยู่ในประเทศที่รายได้ของคนที่รวยสุดสิบเปอร์เซ็น สูงกว่ารายได้น้อยสุด 10 เปอร์เซน 22 เท่า

จากรายงานความยากจนและความไม่เท่าเทียมในประเทศไทยของของธนาคารโลก พบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดความยากจน โดยสัดส่วนความยากจนลดลงจาก 65% เป็น 9.85 ในปี พ.ศ. 2561

ทั้งนี้จากการประเมินของทางภาครัฐ พบว่า ช่วงปี 58-61 อัตราความยากจนของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 7.21% เป็น 9.85%

โดยมีตัวเลขประชากรที่ยากจนเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้านคน นอกจากนี้ ความเจริญยังจำกัดอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯเป็นส่วนใหญ่

ยกตัวอย่างเรื่องการศึกษา เด็กในกรุงเทพฯอายุระหว่าง 6–14 ปีเข้าถึงโอกาสครบทุกด้าน เมื่อเทียบกับเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีเพียงแค่ 10% ในขณะที่ช่องว่างระหว่างรวยจนเริ่มขยับออกห่างกันเรื่อยๆ

‘ไอติม’ จึงอธิบายว่าสิ่งที่รัฐต้องทำ คือการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยในหลายๆด้าน

“ประเทศไทยเป็นประเทศที่ ถ้าคุณมีฐานะทางการเงินที่ดี คุณสามารถไปเรียนโรงเรียนนานาชาติ จ่ายค่าเทอมเป็นล้าน มีอุปกรณ์พร้อมทุกอย่าง คุณสามารถไปเรียนโรงเรียนชั้นนำได้”

“มันเลยเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องมาจัดสรรสวัสดิการใหม่ วางโครงสร้างการกระจายรายได้ การกระจายทรัพย์สินใหม่ วางโครงสร้างภาษีแบบใหม่

เพื่อทำให้โอกาสของทุกๆคนมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น พอโอกาสเท่าเทียมกันแล้ว ความเหลื่อมล้ำทีเ่กิดขึ้นหลังจากนั้น มันจะเป็นผลลัพธ์จากปัจจัยที่เขาควบคุมได้เอง”

อ้างอิง: https://thaipublica.org/…/world-bank-report-poverty…/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *