7 สถานที่ชุมนุมยอดฮิต ตั้งเเต่อดีตถึงปัจจุบัน

7 สถานที่ชุมนุมยอดฮิต ตั้งเเต่อดีตถึงปัจจุบัน

🔥 รวม 7 สถานที่ชุมนุมยอดฮิต ตั้งเเต่อดีตถึงปัจจุบัน

ชุมนุม 14 ตุลา


📍วันมหาวิปโยค 14 ตุลา : อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย

วัน 14 ตุลา 2516 เกิดการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนกว่า 5 แสนคน ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยและเรียกร้องให้จอมพลถนอม กิตติขจร ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมารัฐบาลมีคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม

👉จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีสถานที่ที่เกิดการปะทะ เช่น หน้าสวนจิตรลดา ช่วงถนนพระราม 5 ตลอดสายถนนราชดําเนิน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

📍6 ตุลา สถานที่ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

6 ตุลาคม 2519 เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุดเริ่มต้นการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกขับไล่เมื่อปี 2516 ทำให้เกิดการรวมตัวกันของฝ่ายซ้าย กลุ่มนักศึกษาและ กลุ่มเสรีนิยมประชาธิปไตย ร่วมกันชุมนุมประท้วงต่อต้านการกลับมา ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง

👉ตำรวจใช้อาวุธสงครามในการปราบปรามการประท้วงและมีกลุ่มฝ่ายขวา อย่างกลุ่มกระทิงแดง และกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ที่ร่วมมือกับตำรวจในการสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 41 คน และบาดเจ็บ 145 คน และถูกจำกุมจำนวน 3,094 คน

พฤษภาทมิฬ

📍พฤษภาทมิฬ : ถนนราชดำเนิน

ในช่วงวันที่ 17-24 พฤษภาคม 2535 เกิดการประท้วงของผู้ชุมนุมที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญที่อ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา คราประยูร (ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) ซึ่งได้พูดไว้ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
👉ผู้ชุมนุมมีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล และมีการปะทะกันที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

📍พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย :สะพานมัฆวานรังสรรค์

ในช่วงวันที่ 25 พฤษภาคม – 3 ธันวาคม 2551 เกิดการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กลุ่มเสื้อเหลือง ซึ่งเป้าหมายหลักคือการขับไล่นายสมัคร สุนทรเวช และขับไล่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลทั้งสองชุดดังกล่าวถูกมองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับทักษิณ ชินวัตและ มีความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ 309 ซึ่งระหว่างการชุมนุมก็เปลี่ยนสถานที่ชุมนุมไปหลายแห่ง

เริ่มจากสะพานมัฆวานรังสรรค์ ที่ในตอนแรก กลุ่มพันธมิตรฯตั้งใจจะประชุมหน้าทำเนียบแต่ถูกตำรวจปิดกั้นจึงย้ายมาที่สะพานมัฆวานรังสรรค์

👉จนต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม 2551 กลุ่มพันธมิตรฯ เดินทางไปสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยต้องการทวงคืนสื่อของรัฐที่ทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง เเละเดือนพฤศจิกายนได้ปิดล้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อต่อรองกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ลาออกจากตำแหน่งภายหลังจากมีคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค กลุ่มพันธมิตรฯจึงได้ประกาศยุติการชุมนุม

ชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

📍การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) : แยกราชประสงค์

ในช่วงวันที่ 12 มีนาคม-19พฤษภาคม 2553 ได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง โดยมีเป้าหมายหลักที่ต้องการให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่

โดยในช่วงแรก จัดชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศบนถนนราชดำเนิน จนเดือนพฤษภาคผู้ชุมนุมปิดการจราจรที่แยกราชประสงค์ จนมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

👉วันที่ 27 มีนาคม กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเคลื่อนไปยังแยกราชประสงค์ร เพื่อเลียนแบบการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯโดยรวมแล้วการชุมนุมครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน

ชุมนุมกปปส.

📍ชุมนุมกปปส. : สวนลุมพีนี

ในช่วงวันที่31 ตุลาคม 2556 – 22 พฤษภาคม 2557 มีการชุมนุมคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) นำทัพโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ การชุมนุมครั้งนี้มีเป้าหมายหลักคือ ให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากความเป็นหัวหน้ารัฐบาลเพื่อไม่ให้พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีอิทธิพลในการเมืองไทย

และการจัดตั้งสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อควบคุมการปฏิรูปการเมือง การชุมนุมครั้งนี้ใช้การเป่านกหวีดเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง โดยการชุมนุมครั้งนี้นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังมีการเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆ เช่น สถานีรถไฟสามเสน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระทรวงการ คลัง สนามม้านางเลิ้งและทำเนียบรัฐบาล และมีการปิดถนนกรุงเทพทั้ง 7 สายอย่างเเยกปทุมวัน,ราชประสงค์,อโศกมนตรี,ศาลาแดง (สีลม),ห้าแยกลาดพร้าว,อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เเละแจ้งวัฒนะ (จนถึง 22 พฤษภาคม 2557)

👉จนท้ายที่สุดในวันที่22 พฤษภาคม 2557 มีการัฐประหารโดยคสช.

ขีดเส้นใต้ไล่เผด็จการ

📍ขีดเส้นใต้ไล่เผด็จการ ; อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย

ในวันที่วันที่ 16 สิงหาคม 2563 มีการชุมนุม #ขีดเส้นใต้ไล่เผด็จการ โดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกโดยมี 3 ข้อเรียกร้องต่อนายกประยุทธ์ จันทรโอชา คือ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ ยุบสภา และ 2 จุดยืน คือ ไม่เอารัฐประหาร ไม่เอารัฐบาลแห่งชาติ 1 ความฝัน คือ การมีระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ซึ่งหลังจากการชุมนุมก้มีหมายเรียกและเหล่าตำรวจจับกุมตัวแกนนำไป ซึ่งสร้างการลุกฮือ ของเหล่านักศึกษา ประชาชน และมีการตั้งคำถามถึงสิทธิในการแสดงความคิดเห็น

#TheFeatures
#รวม7สถานที่ยอดฮิต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *