“แบน (Banned)” และ “คว่ำบาตร (Boycott)” ต่างกันอย่างไร?

“แบน (Banned)” และ “คว่ำบาตร (Boycott)” ต่างกันอย่างไร?

🗨กระเเสในโลกโซเชียล ณ ขณะนี้ ต่างพุ่งเป้าไปที่ #BanMulan เเล้วคุณรู้หรือไม่ คำว่า “แบน (Banned)” และ “คว่ำบาตร (Boycott)” ต่างกันอย่างไร? 

📣หลายคนคงได้ยินคำว่า”แบน” สำนักข่าวแห่งหนึ่ง ที่เคยเป็นกระแสในโซเชียล หรือจะช่วงนี้ ที่ชาวเน็ตร่วมใจติดแฮชแท็ก ”บอยคอต” ภาพยนตร์ดังที่พึ่งเข้าโรงอย่างมู่หลาน แต่ทั้งแบนและบอยคอตถูกใช้กันอย่างแพร่หลายจนบางทีอาจผิดบริบทในการใช้และผิดความหมาย

📍วันนี้เราจึงมาอธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่าแบน (Banned) และ บอยคอต (Boycott) โดยเริ่มจากการอธิบายผ่านความหมายในพจนานุกรมก่อนเลย

❗คำว่า แบน (Banned) หมายถึง การห้ามอย่างเป็นทางการหรือตามกฎหมาย ในขณะที่คำว่า คว่ำบาตร (Boycott) หมายถึง การปฏิเสธในการใช้ การซื้อ หรือการขายผลิตภัณฑ์หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อเป็นการแสดงออกถึงการประท้วง

❗ส่วนคำว่า บอยคอต (Boycott) นั้นมาจาก นามสกุลของกัปตันชาร์ลส์ คันนิ่งแฮม บอยคอต ซึ่งเป็นคนแรกที่ถูกคว่ำบาตร ไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย เพราะเขาเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่ารายใหญ่ในไอร์แลนด์ แต่ว่ากันว่า เขาขับไล่ผู้เช่าที่ดินทำกินออกจากที่อย่างไร้เมตตา ชาวบ้านและลูกจ้างจึงรวมตัวกันประท้วงไม่ยอมทำงานให้ ไม่ให้ความร่วมมือใดๆ ถึงแม้เหตุการณ์นี้ จะเกิดไปเเล้วตั้งแต่ปี 1880 แล้ว แต่ชื่อของเขาก็ยังถูกนำมาใช้จนกลายเป็นศัพท์เฉพาะไปแล้ว

🤔เรามาดูตัวอย่างเหตุการณ์แบนและบอยคอตที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยกัน

🔸️กรณี – PETA บอยคอตกะทิไทยที่ใช้แรงงานลิงในการเก็บมะพร้าว โดยเหตุการณ์เรื่มจากองค์กรประชาชนเพื่อการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีจริยธรรม (PETA) ออกมาเผยว่า มะพร้าวที่นำมาทำกะทินั้นมาจากการใช้แรงงานลิง ที่ถูกจับมาและถูกนำมาฝึกให้เก็บมะพร้าว ซึ่งทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในอังกฤษเริ่มบอยคอตกะทิไทย จนสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องของ “สวัสดิภาพสัตว์” ในสังคมไทยมากขึ้น

🔸️กรณี – หนังสือ”The king never smiles”ที่ถูกแบนโดยรัฐ
เมื่อปี 2549 มีหนังสือชื่อ The king never smiles มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและราชวงศ์จักรีที่เขียนโดยพอล แฮนด์ลีย์ (Paul Handley) นักเขียนชาวอเมริกัน และจัดพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเยล

➡️โดยไทยได้จัดให้เป็นหนังสือต้องห้ามอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ก่อนตีพิมพ์แล้วและต่อมามีหนังสือกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้จัดว่าหนังสือเล่มนี้เป็น “หนังสือต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร อย่างเป็นทางการ ซึ่งจากกรณีนี้ทำให้ตรอกย้ำความอ่อนไหวการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

🚩รู้หรือไม่? สาเหตุที่ภาพยนตร์เรื่องมู่หลานถูกบอยคอตนั้นเกิดจาก หลิว อี้เฟย นักแสดงสาวที่รับบทแสดงนำในเรื่องนี้ ได้แสดงความเห็นสนับสนุนการกระทำของตำรวจ ที่ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมประท้วงในฮ่องกง

#TheFeatures
#BanMulan
#Banned
#Boycott

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *