โควิดมา ท่องเที่ยวชะงัก แต่ธรรมชาติฟื้น

โควิดมา ท่องเที่ยวชะงัก แต่ธรรมชาติฟื้น

ปี 2563 เป็นปีที่ทราบกันว่า โควิดลามไปทั่วโลก ประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยว อันดับต้นๆ อย่างไทย ก็เเบกรับความซบเซาต่อเนื่อง

โดยตั้งแต่มกรา-ตุลา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 6,692,775 คน ลดลงไปกว่า 79.6% เเล้ว เมื่อเทียบกับปี 2562 สูญรายได้ไปเเล้วกว่า 1.69 ล้านล้านบาท

แต่รายได้ที่ได้มาก็ต้องแลกกับราคาแสนแพง เพราะเมื่อผู้คนจำนวนมากแออัดกันในพื้นที่ๆหนึ่ง ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ และทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่นั้นๆ

ปัญหานี้เรียกว่า ปัญหานักท่องเที่ยวล้นเมือง หรือ Overtourismเกรแฮม ฮาร์เปอร์ ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (PATA) บอกกับเราว่า

ในเชิงสถิติ ประเทศไทยถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างสูง แต่การที่นักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของพื้นที่นั้นๆยังน้อย จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ สังคม และเศรษฐกิจ

“ในปี 2018 และ 2019 นับเป็นสองปีที่อาจพูดได้ว่าการท่องเที่ยวไทยเฟื่องฟูมากที่สุด โดยมีนักท่องเที่ยวเกือบ 40 ล้านคน แต่มันก็มาพร้อมกับปัญหาและข้อกังวลหลายอย่าง เช่น ผลกระทบต่อธรรมชาติ จนทำให้ต้องมีการปิดพื้นที่ชายหาดบนเกาะภูเก็ต”

หลังจากมีการปิดแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง พบว่าทรัพยากรณ์ธรรมชาติฟื้นตัวอย่างรวดเร็วมาก ตั้งเเต่ ป่าไม้ ไปจนถึงปะการังและน้ำทะเลแต่จะทำอย่างไรให้ธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์อย่างต่อเนื่องเมื่อโควิดหายไป?

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ปัญหาของการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์มีการพูดถึงกันมากจนกระทั่งแนวคิด ‘การท่องเที่ยวเชิงยั่งยืน’ เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างเช่น

เราได้เห็นแคมเปญรณรงค์งดใช้ขวดพลาสติกหรือการแยกขยะ การสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยใช้รถสาธารณะหรือปั่นจักรยานเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้

เกรแฮมชี้ว่า การส่งเสริมให้ลดการใช้พลาสติกที่คนส่วนมากเข้าใจกัน เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หากเเต่ คำว่า “ยั่งยืน” ยังรวมไปถึงการกระจายนักท่องเที่ยว กระจายรายได้ ให้คนท้องถื่นอีกด้วย

ซึ่ง เกรเเฮมชี้ว่าไทยควรเน้นการวางโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้แหล่งท่องเที่ยวสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนให้ได้

“เรื่องโทษของการใช้พลาสติก ปัญหานี้ใครๆ ก็ทราบกันดี เเต่ ถ้าวันหนึ่ง เราทิ้งขวดพลาสติกไปในถังรีไซเคิล แต่บริเวณนั้นไม่มีศูนย์รีไซเคิลพลาสติกเลย

คำถามต่อมาคือ ขวดนั้นจะไปอยู่ไหนเล่า เราต้องมีโครงสร้างที่ดีก่อน ประเทศไทยควรเน้นไปที่การใช้ข้อมูล และการวางแผนกลไกการจัดการทรัพยากร เเละการเงิน รวมไปถึง การวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”

อย่างไรก็ดี ช่วงที่การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ธรรมชาติกลับได้รับการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตอนนี้มีการพูดคุยถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้โอกาสนี้ในการ “รีสตาร์ท” การท่องเที่ยวใหม่ในยุคโควิดสต๊อป ที่เน้นไปที่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

โดยเกรแฮมมองว่าสิ่งที่ไทยควรเน้นคือการพัฒนาความสามารถการบริหารในระดับชุมชน ให้พัฒนามีคุณภาพในการบริหารโครงการในระยะยาว”

ในปัจจุบันเราเดินทางเพื่อทำงาน หรือออกไปเจอสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆแต่การท่องเที่ยวก็มากับผลกระทบต่อโลก ทำให้เข้าสู่คำถามต่อไปว่า สิ่งสำคัญเราจะทำอย่างไรให้การท่องเที่ยว เดินคู่ไปกับโลกใบนี้

โดยมีการกระจายรายได้ให้กับทุกๆคนอย่างเท่ากัน“ผมไม่ได้มองว่าความยั่งยืนคือจุดหมาย ผมมองว่ามันเป็นวิธีการคิด” เกรแฮมกล่าวปิดท้าย

อ้างอิง:https://www.mots.go.th/News-link.php?nid=13066https://krungthai.com/…/EconomyResourcesDownload…https://ch3thailandnews.bectero.com/news/190338https://news.thaipbs.or.th/content/293543

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *