2020 : ปีร้ายวงการสายการบิน

2020 : ปีร้ายวงการสายการบิน

2020 : ปีร้ายวงการสายการบิน ใครอยู่ ใครไป ในวิกฤติโควิด

“ไม่มีคำไหนจะบรรยายกับผลกระทบจากโควิด-19 ได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นต่อวงการสายการบินได้เลย พนักงานมากกว่า 25 ล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในอาชีพ ตัวสายการบินเองก็ต้องปรับตัวให้อยู่รอดจนกว่าจะจัดการปัญหาไวรัสได้ และตอนนี้หลายๆสายการบินก็อยู่ในขั้นสาหัสแล้ว” Alexandre de Juniac ประธานสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ ไออาต้า กล่าว
.
มาถึงวันนี้คำพูดของประธานไออาต้าก็เป็นที่ชัดเจนแล้วเมื่อหลายสายการบินทยอยปิดกิจการและยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ที่ยังอยู่รอดก็มีการปรับลดขนาดองค์กรและเลย์ออฟพนักงาน
.
ถึงวันนี้มีสายการบินใดบ้างที่ต้องล้มหายตายจาก หรือต้องจำใจปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด เราสรุปคร่าวๆ เเบ่งออกมาได้เป็น สามกลุ่มด้วยกัน

กลุ่มเลิกกิจการถาวร
– Nok Scoot ขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนโควิดและโดนพิษหนักจากโควิด-19 ทำให้ต้องเลิกกิจการถาวร และชดเชยพนักงาน 425 ราย
-Compass Airline สายการบินรับจ้างในสหรัฐฯ ที่จะทำการบินก็ต่อเมื่อสายการบินใหญ่มีเครื่องบินไม่พอกับปริมาณผู้โดยสาร เมื่อสายการบินใหญ่ๆทยอยลดขนาดองค์กร Compass Airline ก็ไม่มีงาน
-Flybe สายการบินสัญชาติอังกฤษขาดทุนสะสมปีละ 20 ล้านปอนด์ มีต้นทุนค่าซ่อมบำรุงสูงเพราะมีเครื่องบินจำนวนมากบวกกับสู้กับสายการบินโลว์คอสต์อื่นๆไม่ไหว สุดท้ายยื่นล้มลายเพราะโควิดทำพิษ
– SunExpress Deutschland สายการบินร่วมทุนของ Lufthansa และ Turkish Airlines เยอรมัน-ตุรกีตอบโจทย์ความนิยมการท่องเที่ยวเยอรมัน-ตุรกี Lufthansa ตัดสินใจปิดบริษัทแม่ในเยอรมันเพราะ
โควิด-19 เหลือแต่สาขาในตุรกี
.
กลุ่มยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย
-Thai Airways สายการบินแห่งชาติของประเทศไทย ขาดทุนสะสม และมีหนี้ 2.5 แสนล้าน รอแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้มีผู้บริหารจากภายนอก และรัฐบาลจะไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่อีกต่อไป
-Nok Air อีกสายการบินสัญชาติไทยที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ หลังขาดสภาพคล่องทางการเงินและมีหนี้สะสม 2.6 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะมีการปรับโครงสร้างให้แล้วเสร็จทันก่อนการระบาดของไวรัสจะยุติลง เพื่อรองรับการเดินทางและการท่องเที่ยวของทั้งชาวไทยและต่างชาติ
-LATAM Airlines สายการบินอันดับอันดับ 1 ในภูมิภาคละตินอเมริกา ภูมิภาคที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
-Virgin Atlantic หนึ่งในเครือธุรกิจ Virgin ของ Richard Branson นักธุรกิจชื่อดัง
-BRA สายการบินของประเทศสวีเดน ปลดพนักงาน 600 ตำแหน่ง เพื่อคงสภาพสายการบินและเตรียมปรับโครงสร้าง
-Level Europe สายการบินระยะสั้นของประเทศออสเตรีย เป็นสายการบินล่าสุดที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ
.
กลุ่มปรับโครงสร้าง/ลดขนาดองค์กร
-Virgin Australia เสนอขายกิจการเนื่องจากขาดทุนสะสม มีการเลย์ออฟพนักงานบางส่วนเพื่อลดค่าใช้-จ่าย ปัจจุบันขายกิจการให้กลุ่มทุน Bain Capital ของสหรัฐฯ
-Bangkok Airways เปิดให้พนักงานสมัครใจลาออกพร้อมชดเชยสูงสุด 20 เดือน และมีแผนลดปริมาณเครื่องบินอย่างต่อเนื่อง
-Air Asia และ Air Asia X ลดการจ้างพนักงาน 30% ลดเงินเดือนทุกตำแหน่ง เสนอขายหุ้น 10% เพื่อหาสภาพคล่อง

หมายเหตุ*
-การยื่นศาลล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการ ไม่ใช่การล้มละลาย เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้พักหนี้ของค์กรที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการและจะมีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ต่อเจ้าหนี้ องค์การนั้นๆจะยังเป็นเจ้าของสินทรัพย์ทุกอน่าว โดยจะมีการปรับโครงสร้างองค์กร แผนธุรกิจเพื่อให้ทำกิจการต่อไปได้ และอาจให้มีผู้บริหารจากภายนอกเข้ามามีส่วนในการดำเนินธุรกิจในอนาคต
#TheFeatures
#ขาลงธุรกิจการบิน
#Businessandlifestyle

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *