ศิลปะปราศรัย : ม็อบราษฎร ‘63

ศิลปะปราศรัย : ม็อบราษฎร ‘63

ในวันที่ใครก็เป็นแกนนำได้ พูดอย่างไรให้คนเรือนหมื่นในม็อบเข้าใจและคล้อยตาม The Features พาถอดรหัสการปราศรัย สื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

นับตั้งแต่มีการชุมนุมเยาวชนปลดแอก จนกลายเป็นราษฎรปลดแอก การ ‘สื่อสาร’ ของแกนนำ เช่น ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ ชิวารักษ์ ‘ไมค์’ ภาณุพงษ์ จาดนอก หรือ ‘รุ้ง’ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ อานนท์ นำภา ก็พัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการปราศรัยตามไปด้วย

แกนนำเหล่านี้พูดอย่างไรให้คนคล้อยตาม The Features คุยกับ บอล ปฏิพัทธ์ ทรัพย์ทักษิณา ถึงลักษณะพิเศษของการปราศรัยในม็อบ โดยปัจจุบัน บอลเป็นประธานชุมนุมปาฐก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หากคุณเสิร์ชในอินเทอร์เน็ตจะพบ “สูตรสำเร็จ” ของการพูดในที่สาธารณะ ตั้งแต่ การยืนตัวตรง การแต่งกาย ไปจนถึงการมองผู้ฟัง แต่สูตรสำเร็จนี้ใช้ไม่ได้กับการปราศรัยในม็อบ

แม้จะนับเป็นรูปแบบหนึ่งของการพูดในที่สาธารณะ แต่การปราศรัยในม็อบมีความโดดเด่นที่ต่างออกไป โดยบอลอธิบายว่า ผู้ปราศรัยจะต้องใช้ทั้งภาษาพูดและภาษากาย ในการดึงผู้ฟัง

อาการ “หลุดปาก” ตั้งใจหรืออารมณ์พาไป?

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักในการปราศรัย คือการรับพลังจากมวลชน เนื่องจากม็อบรวมคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน ดังนั้น อารมณ์ร่วมไปกับเสียงโห่ร้อง เสียงเชียร์ หรือเสียงกระตุ้น อาจทำให้ผู้ปราศรัยสูญเสียตันตนชั่วขณะ และเกิด “หลุดปาก” ได้

ในการชุมนุมม็อบราษฎร จุดเด่นที่ได้รับการพูดถึงบ่อยครั้ง คือการประกาศว่าเป็นม็อบที่ ‘ไม่มีแกนนำ’ ทำให้มีคนจากหลายพื้นที่และชนชั้นขึ้นได้มีโอกาสขึ้นปราศรัย แต่ในวันที่ใครก็เป็นแกนนำได้ คำถามคือสื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

ลากเสียงเรียกแขก

บอลอธิบายว่าเนื้อหาสาระสำคัญอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้จักใช้เสียงให้เป็นด้วย

“ผมสังเกตุว่าแกนนำเวลาปราศรัยจะพูดลักษณะในการทอดเสียง ให้มันยาวขึ้น เช่น เวลาพูดปกติ พี่น้องครับ แต่เวลาปราศยับ พี่น้องครับบบบ….”

“พูดในสนาม ลำโพงมันก้อง ถ้าพูดปกติแบบนี้มันฟังไม่ทัน ไม่ชัด การทอดเสียงจำเป็น เพื่อให้คนฟังจับคำง่ายขึ้น และทำให้อารมณ์ของคนฟังไปได้เรื่อยๆ”

นับตั้งแต่มีการชุมนุมเยาวชนปลดแอก จนกลายเป็นราษฎรปลดแอก การ ‘สื่อสาร’ ของแกนนำ เช่น ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ ชิวารักษ์ ‘ไมค์’ ภาณุพงษ์ จาดนอก หรือ ‘รุ้ง’ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลก็พัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการปราศรัยตามไปด้วย

บอลแสดงความเห็นว่า ลักษณะเด่นของ ‘เพนกวิน’ คือภาษาและเนื้อหาที่ตรงไปตรงมา ไมค์มีลักษณะ “กวนๆหน่อย” ส่วนทนายอานนท์ “มีอารมณ์ขัน จังหวะจะโคนดี”

ด้วยเพราะ ‘การพูด’ มีพลังมหาศาล ตั้งแต่สื่อสารในชีวิตประจำวัน โน้มน้าวเราซื้อของ ไปจนถึงการพูดที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เช่น วาทะระดับตำนานอย่าง “ข้าพเจ้ามีความฝัน” ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ทำให้คนให้ความสำคัญกับการพูดเป็นหลัก

“ในสังคมไทยปัจจุบัน ต่างคนต่างตะเบ็งเสียง จนไม่ค่อยหยุดฟังกันเลย พอต่างคนต่างพูดโดยไม่หยุดฟัง เสียงเราก็จะตีกัน และในที่สุดเราก็ต้องตะเบ็งเสียงให้ดังขึ้นเพื่อแข่งกับอีกฝั่ง”

เเต่อย่างไรก็ดี บอลชี้ว่า สิ่งที่สังคมไทยควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะในบริบทการเมืองปัจจุบัน คือ ‘การฟัง’

“ถ้าเราต้องการจุดยืนร่วมของสังคม จำเป็นจะต้องฟังกันมากขึ้น ต่อรองมากขึ้น ถ้าเกิดเราแข่งกันตะเบ็งเสียง สุดท้ายบทเรียนของสังคมไทย บุคคลที่สามก้าวเข้ามา บอกให้เราเงียบลง ทำให้สังคมเงียบงันไปอีกยาวไกล และไม่มีใครได้พูดอีกเลย”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *