คุยกับอาจารย์มหาลัยฯท่านหนึ่ง กับอีกหนึ่งบทบาทในฐานะการ์ดมวลชน

คุยกับอาจารย์มหาลัยฯท่านหนึ่ง กับอีกหนึ่งบทบาทในฐานะการ์ดมวลชน

คุยกับอาจารย์มหาลัยฯท่านหนึ่ง กับอีกหนึ่งบทบาทในฐานะการ์ดมวลชน “เวลาสอนเราสอนเต็มที่ โฟกัสว่าจะพูดเรื่องอะไร เราต้องไม่ชี้นำเด็ก มันปฏิเสธไม่ได้ว่า

การที่เราเป็นอาจารย์มีเด็กมาเรียนกับเรา เด็กรับบางส่วนของเราไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่จะเน้นว่าให้ตั้งคำถาม อย่าเพิ่งคิดแบบเรา เราจะพยายามไม่บอกว่าเราคิดอย่างไรก่อน”

นี่คือสิ่งที่อาจารย์คนหนึ่งพึงบอกตัวเองเสมอในห้องสอน – ในวันที่เขาเป็นทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยและการ์ดมวลชนของม็อบราษฎรการชุมนุมคณะราษฎรจะดำเนินไปอย่างราบรื่นไม่ได้เลยหากไม่มี “การ์ด”

กลุ่มคนที่อำนวยความสะดวกตั้งแต่โบกรถ จัดเคลียร์พื้นที่ บอกผู้ชุมนุมว่าห้องน้ำไปทางไหน เก็บขยะ จนไปถึงการไปกั้นพื้นที่ให้ผู้เจรจาเข้าไปเจรจากับตำรวจ หรือให้ผู้ปราศรัยได้ปราศรัย

โดยสมาชิกการ์ดมีความหลากหลายทั้งอายุ เพศ และอาชีพอาจารย์เอ (นามสมมุติ) เป็นหนึ่งในการ์ดมวลชน ส่วนอีกบทบาทเขาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

เล่าเรื่องราวก่อนมาเป็นการ์ดว่า แรกเริ่มเดิมที เขาไม่ได้สนใจการเมืองมากนัก จนเริ่มจับตาการเมืองอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ยุคคสช. เพราะได้เห็นความ “ผิดเพี้ยน” ของสังคม และ “สะสม” มาเรื่อยๆ

จนกระทั่งวันหนึ่งเกิด “ระเบิดพรั่งพรูออกมา”“ตอนนั้นเราคิดว่าวิธีการต่อสู้มันไม่ต้องลงถนนก็ได้ เราน่าจะลองเล่นในกติกาถึงมันจะบิดเบี้ยวก็เถอะ แต่เราก็มีผู้แทนที่เข้าไปทำหน้าที่แทนเราตามกติกาที่เขาตั้งขึ้นมา”

อาจารย์เอเริ่มเล่า “แต่วันหนึ่ง เรารู้สึกว่าความไม่เป็นธรรมทำให้เราอึดอัดจนทนไม่ไหว ต้องออกไปแสดงพลัง ไปเฉพาะวันที่เราสะดวก แรกๆออกไปเพื่อถูกนับจำนวน เรารู้สึกว่าการวิจารณ์ในอินเทอร์เน็ตมันไม่พอแล้ว”

อาจารย์เอเริ่มเข้าร่วมชุมนุมบ่อยครั้ง ในตอนแรก เขาช่วยอยู่ห่างๆ สังเกตุความไม่ชอบมาพากล แต่กระนั้นก็ยังพาตัวเองเข้าไปแนวหน้าอยู่บ่อยครั้ง

จนกระทั่งวันหนึ่ง “ลิงก์สมัครการ์ดอาสา” ก็เด้งขึ้นบนเฟสบุ๊ค ตอนนี้เองที่อาจารย์มหาลัยคนหนึ่งตัดสินใจถอดเชิร์ตและไทด์ สวมใส่ชุดแขนขายาวและหน้ากากกันแก๊สลงสู่สมรภูมิการเมือง…

ในฐานะการ์ดมวลชน “เราคิดว่าเข้าไปร่วมในฐานะผู้ชุมนุมที่มีจิตอาสา ช่วยเท่าที่ช่วยได้ แต่วันนั้นอยู่ๆก็เห็นลิงก์เด้งขึ้นมา เราคิดว่าไหนๆก็ไหนๆแล้ว เป็นการ์ดไปเลย

หน้าที่ของการ์ดคืออยู่แนวหน้า เพราะตอนชุมนุมเราก็ชอบไปอยู่แนวหน้า เราคิดว่าเราก็ไปบ่อยนี่หว่า วางตำแหน่งแห่งที่ให้ตัวเองเลยแล้วกัน” ในบทบาทการ์ด

หน้าที่หลักของอาจารย์เอ คือ ดูแลคนนับหมื่นที่มารวมตัวกันชุมนุมให้เป็นไปอย่างราบรื่น และให้ความปลอดภัยกับมวลชน

ในฐานะอาจารย์ เออธิบายว่าเขาคอยระวังไม่ใส่ทัศนคติทางการเมืองของตนเองให้กับนักศึกษา

“เราตระหนักไว้ก่อนเลยว่า วิธีการที่นักศึกษามาเรียนกับอาจารย์ มันเป็นการชี้นำโดยธรรมชาติ เราตระหนักตรงนี้ไว้และระวัง พยายามแยกบทบาท เวลาสอนเราก็สอนเต็มที่ ฟังทุกความคิดเห็น ไม่ก้าวก่ายความคิดนักเรียนมากจนเกินไป”

“เวลาสอนเราสอนเต็มที่ โฟกัสว่าจะพูดเรื่องอะไร เราต้องไม่ชี้นำเด็ก มันปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่เราเป็นอาจารย์มีเด็กมาเรียนกับเรา เด็กรับบางส่วนของเราไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่จะเน้นว่าให้ตั้งคำถาม อย่าเพิ่งคิดแบบเรา เราจะพยายามไม่บอกว่าเราคิดอย่างไรก่อน”

ก่อนปิดการสนทนา อาจารย์เล่าว่า การได้มาเป็นการ์ดไม่เพียงแค่จะช่วยตอบสนองความต้องการของเขาเองที่จะขับเคลื่อนสังคม

แต่ยังช่วยให้เขาได้เห็นประวัติศาสตร์ด้วยตาของตัวเอง “เวลานี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ เรามาเฝ้ามองสิ่งที่จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ด้วยตาเปล่าๆของเราเอง”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *