ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียมีพลังในการขับเคลื่อนขบวนการทางการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยปัจจุบัน
การวิจารย์รัฐบาลหรือการโจมตีฝั่งตรงข้ามทางการเมือง หากมิได้เริ่มโดยโซเชียลมีเดียเสียแต่ต้น ก็มักใช้โซเชียลมีเดียเป็นกระบอกกระจายเสียง
เห็นได้ชัดในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของ “คณะประชาชนปลดแอก” ซึ่งใช้เฟซบุ๊กและแอพพลิเคชั่น เทเลแกรม (Telegram) เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างกลุ่มผู้เคลื่อนไหว
การนัดชุมนุมของคณะราษฎร ทำผ่านการประกาศผ่านเพจเฟสบุ๊กหลัก เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH และส่งต่อสารผ่านการ “แชร์” ไปในช่องทางออนไลน์อื่นๆ
เช่นเดียวกันกับการใช้แฮชแท็ก ที่ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมสามารถติดตามทิศทางของการเคลื่อนไหวได้อย่างฉับพลัน กระแสการโจมตีรัฐบาลจึงแพร่ออกเป็นวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว
ล่าสุดวันที่ 26 ตุลาคม ผู้ชุมนุมใช้แฮชแท็ก #ม็อบ26ตุลา ในการนัดแนะสถานที่และเวลาจัดชุมนุม ระบุข้อควรระวังและเชิญชวนให้คนออกมาชุมนุม เป็นต้น
แฮชแท็ก #ถ้าการเมืองดี มีการรีทวิตไปกว่า 102,000 ครั้ง เพื่อโจมตีรัฐบาล พร้อมเสนอภาพสังคมที่พึงจะเป็นหากการเมืองดี
คณะราษฎรใช้แฮชแท็กเป็นเหมือน “กระบอกเสียง” ยิ่งมีผู้ใช้แฮชแท็กเพิ่มมากขึ้น กระบอกเสียงก็ขยายใหญ่ขึ้นแฮชแท็กที่ใช้ในการโจมตีรัฐบาล นัดหมายชุมนุม
หรือแม้แต่แฮชแท็กที่กล่าวถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จึงยึดพื้นที่ท็อปเทรนด์ของทวิตเตอร์ “ทุกวัน”
ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมาการใช้แฮชแท็กในลักษณะนี้เรียกว่า Hashtag Activism Hastag Activism กับการตอบโต้กฎหมายของภาครัฐ การที่ภาครัฐออกกฎหมายจำกัดการชุมนุมหรือการแสดงออกทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะ
ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมทำการเคลื่อนไหวทางโลกออนไลน์มากขึ้น ผู้ชุมนุมใช้เทคนิคในการเคลื่อนไหวหลายแบบ
เช่น การรวบรวมรายชื่อออนไลน์เพื่อเสนอแก้รัฐธรรมนูญ การคอมเมนท์โจมตีรัฐบาลทางช่องทางออนไลน์ หรือการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านแฮชแท็กที่เรียกว่า Hashtag Activism
Hashtag Activism คือการแชร์ข่าวสารกับผู้ติดตาม และให้สารนี้ส่งต่อๆกันไปเป็นวงกว้าง ซึ่งนำไปสู่การโต้เถียงหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
การใช้ Hashtag Activism ของประชาชนปลดแอกถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวด โดยสังเกตุได้จากการชุมนุมในปัจจุบันที่ออกมาชุมนุมจำนวนมากหลังประกาศสถานที่ชุมนุมเพียงไม่นาน
และที่สำคัญคือไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพเท่านั้น แต่กระจายออกไปในทุกภาคส่วนของประเทศ แฮชแท็กฝั่งขวาช่วงชิงพื้นที่ท็อปเทรนด์ทวิตเตอร์หลังจากแฮชแท็กจากฝั่งคณะประชาชนปลดแอกยึดท็อปเทรนด์ของทวิตเตอร์มาพักใหญ่ๆ
เป็นที่น่าสังเกตุว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มมีกระแสแฮชแท็กจากขั้วการเมืองอีกฝั่งที่ไต่อันดับขึ้นมาติดท็อปเทรนด์ของทวิตเตอร์ เช่น แฮชแท็ก #พลังเงียบ#เราทุกคนคือio หรือ #อนุชนรักชาติศาสน์กษัตริย์
กระแสแฮชแท็กเหล่านี้มาพร้อมกับข้อความโจมตีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคณะราษฎร 63 โดยหลักคือ การไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบัน หลังจากปล่อยให้ท็อปเทรนด์เป็นของประชาชนปลดแอกพักใหญ่
ทำไมแฮชแท็กของอีกขั้วการเมืองถึงโผล่มาช่วงชิงพื้นที่ได้ในระยะเวลาอันสั้น?
หนึ่งในกระแสข่าวอ้างว่าทางรัฐบาลมีการจ้างบริษัท เอเจนซี่ ในการทำพีอาร์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับการทำงานของรัฐบาล โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์พบว่ามีการโพสต์ข้อความเดิมๆ ผ่านหลายบัญชีทวิตเตอร์
กระแสข่าวดังกล่าว ยังประจวบเหมาะกับการที่ทวิตเตอร์ออกประกาศแบน IO ของรัฐบาลไทยเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่ากระแสข่าวนี้จะจริงหรือไม่
แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการต่อสู้ของการเมืองไทยได้ขับเคลื่อนเข้าสู่สังคมไซเบอร์ โดยมีทวิตเตอร์เป็นสมรภูมิหลัก และแฮชแท็กเป็นอาวุธในขณะที่ภาครัฐมีคือกฎหมาย อาวุธ และกำลังเงิน
สิ่งที่ “คณะประชาชนปลดแอก” ใช้ในการต่อสู้ตลอดมาคือ เครื่องมือโซเชียลและแฮชแท็ก เมื่อขั้วการเมืองตรงข้ามหันมาจับอาวุธที่พวกเขาใช้มาตลอด เป็นที่น่าจับตาว่าก้าวต่อไปของ “คณะประชาชนปลดแอก” และอาวุธโซเชียลของพวกเขา จะเป็นอย่างไร
Sources: