RCEP ดียังไง ใครได้ ใครเสีย แล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร

RCEP ดียังไง ใครได้ ใครเสีย แล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร

RCEP ดียังไง ใครได้ ใครเสีย แล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร อ่านโพสต์นี้โพสต์เดียว รู้เรื่อง!!

RCEP หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership แปลตรงๆได้ว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และยังเป็น Free Trade Agreement (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

เนื่องจาก ครอบคลุมประเทศคู่ค้าถึง 15 ประเทศ ได้แก่ 10 ประเทศอาเซียน จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ นิวซีแลนด์ ซึ่งมีประชากรรวมกว่า 2,200 ล้านคน คิดเป็น 30% GDP ของทั้งโลก

RCEP ดียังไง เช่นเดียวกับ FTA อื่นๆที่หลายประเทศรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการค้า เช่น กลุ่มประเทศยุโรป กลุ่มผู้ค้าน้ำมันตะวันออกกลาง แต่ข้อแตกต่างที่ดูจะทันสมัยมากกว่า FTA อื่นๆ คือ

RCEP เน้นไปที่ความยืดหยุ่นในการทำสัญญาการค้าย่อยๆ ระหว่างประเทศสมาชิกได้ ในขณะ FTA ของยุโรปคือทุกประเทศต้องใช้มาตรฐานเดียวกันทำให้บางประเทศที่มีศักยภาพด้อยกว่าเสียเปรียบบ้างในบางกรณี

ในขณะเดียวกันก็ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างที่ RCEP มี เช่นการให้ความสำคัญกับ SME การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงาน

มีการวิเคราะห์ว่า RCEP จะสามารถเป็นกลไกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกที่ซบเซามานานเนื่องจาก ทรัพยากรพื้นฐานที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าภูมิภาคอื่น ต้นทุนแรงงานที่ไม่แพง เอื้อประโยชน์มากกับการลงทุน

ประกอบกับมีชาติผู้นำทางเทคโนโลยีอย่าง เกาหลี ญี่ปุ่นและจีน RCEP มีแนวโน้มว่าจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางเศรษฐกิจโลก และสร้างรายได้ให้กับประเทศสมาชิกอย่างมหาศาล

อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงทางเศรษฐกิจนี้อาจไม่ได้นำมาแต่เพียงประโยชน์แต่ยังเป็นดาบสองคมอีกด้วย โดยเฉพาะประเทศไทยที่ถ้าหากจัดอันดับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจกับประเทศสมาชิกแล้ว

ประเทศไทยก็น่าจะอยู่อันดับกลางๆค่อนไปทางบน โดยมีสาเหตุหลักๆมาจากต้นทุนแรงงานที่สูงกว่าชาติเพื่อนบ้าน ศักยภาพในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก และอีกประการสำคัญก็คือเสถียรภาพทางการเมือง

ลองยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตแร่ rare earth ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตชิป และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ขั้นสูงต่างๆ

แต่ไทยยังไม่มีศักยภาพพอที่จะผลิตชิปพวกนั้นได้ เราทำได้ก็เพียงส่งออกไปยังจีน และญี่ปุ่น ประเทศที่สามารถแปรแร่ rare earth เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงกว่าเดิมเป็นร้อยเป็นพันเท่า

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ตอบโจทย์กับยุคปัจจุบันมากขึ้น ไทยไม่สามารถเร่ขายผัก ผลไม้ พืชพันธุ์ต่างๆได้เหมือนเมื่อก่อนแล้ว

เพราะวันนี้ ผู้นำทางเศรษฐกิจที่ทำกำไรได้มากกลับเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆให้ผู้บริโภคใช้ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและดูจะมั่นคงที่สุดก็อาจจะสั่นคลอนได้

เมื่อค่าแรงประเทศเพื่อนบ้านเราเหมาะสมกว่าที่จะลงทุน ในขณะเดียวกันธุรกิจอาหาร สินค้าเกษตรก็มีเจ้าใหญ่ๆอยู่ไม่กี่รายในประเทศไทยที่จะได้ประโยชน์จากกำแพงภาษีการค้าที่ถูกลง

ในขณะที่แรงงานไทย หนุ่มสาวออฟฟิศ ก็ดูจะมีโอกาสในการหางานที่กว้างขึ้นจากการลงทุนข้ามประเทศที่สะดวกสบายขึ้น ธุรกิจค้าปลีก sme ไทย ทั้งนำเข้าและส่งออกก็น่าจะได้ตลาดที่กว้างขึ้น

ก่อนหน้านี้อินเดียเคยจะเป็นหนึ่งในสมาชิก RCEP แต่ก็กังวลเรื่องการทะลักเข้าของสินค้าและแรงงานจีนที่รัฐบาลจีนมีกำลังพอที่จะสนับสนุนเต็มที่

ขณะที่ประเทศอินเดียยังแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไม่ได้ การเข้าร่วม RCEP ก็เหมือนกับยอมให้จีนเข้ามาแย่งทั้งงานแย่งทั้งตลาดของตนถึงในบ้าน อินเดียจีงถอนตัวไปในที่สุด

Credit:https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/456905https://www.moneybuffalo.in.th/business-economy/what-is-rcephttps://brandinside.asia/asia-biggest-sign-pact-rcep-30…/https://www.sanook.com/money/660041/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *