#RepublicOfThailand ขึ้นเทรนด์ทวิตเผย สาธารณรัฐ (republic) และ ประชาธิปไตย (democracy) ต่างกันอย่างไร?

#RepublicOfThailand ขึ้นเทรนด์ทวิตเผย สาธารณรัฐ (republic) และ ประชาธิปไตย (democracy) ต่างกันอย่างไร?

จากเหตุการณ์วันนี้ที่สื่อโซเชี่ยลอย่างทวิตเตอร์มี #RepublicOfThailand ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ เรื่องนี้เริ่มจากการรายงานข่าวจากสำนักข่าวชื่อดังอย่าง รอยเตอร์ (Reuters) ที่มีเนื้อหาว่าในอดีตพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) ที่ยินดีสละราชสมบัติถ้าหากประชาชนต้องการที่จะเป็นสาธารณรัฐ (republic) และจะลงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

ทำให้มีผู้ใช้จำนวนหลายคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม วันนี้เราจึงมาเผยว่าระบอบสาธารณรัฐ(republic) และ ระบอบประชาธิปไตย (democracy) ต่างกันอย่างไร?

เริ่มจากคำนิยามในพจนานุกรมสาธารณรัฐ (republic) แปลว่า ประเทศที่มีระบอบการปกครองที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขประชาธิปไตย (democracy) แปลว่า ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่หากมาดูความความแตกต่างในเชิงความหมายการปกครอง

ระบอบสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ ประชาชนมีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครอง เมื่อประมุขของรัฐไม่ได้มาจากกษัตริย์ แต่มาจากคนธรรมดา ได้มาจากการคัดสรรผ่านการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งอาจเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม เช่น สภาหรือคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทำหน้าที่เลือกประมุขของรัฐที่เราเรียกว่า ประธานาธิบดีแต่หากเป็นระบอบประชาธิปไตย คือระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมืองผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกันประเทศไทยถือว่าใช้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กล่าวคือ เป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่มีบทบาททางการเมืองและและถูกกำหนดขอบเขตไว้โดยรัฐธรรมนูญนั้นเองรู้หรือไม่?

ประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ได้เกิดเรียกร้องที่อยากเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ ต้องการยกเลิกอำนาจจากสถาบันกษัตริย์ในการใช้อำนาจอธิปไตยในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเมืองเป็นของประชาชนชาวออสเตรเลียโดยสมบูรณ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *