รัฐประหาร กับ ปฏิวัติ ต่างกันอย่างไร

รัฐประหาร กับ ปฏิวัติ ต่างกันอย่างไร

🚩 รัฐประหาร กับ ปฏิวัติ สองคำที่ได้ยินบ่อย ๆ ในช่วงวิกฤตการเมือง

❗แต่รู้ไหมว่าสองคำนี้มีความหมายที่ต่างกัน แต่กลับมีที่มาใกล้เคียงกันอย่างน่าเหลือเชื่อ

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร

โดยคำว่า “รัฐประหาร” มีความหมายว่าการยึดอำนาจการปกครองสูงสุดจากผู้นำของรัฐใด ๆ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ในพจนานุกรมหลายฉบับยังให้ความหมายด้วยว่า ยึดมาด้วยกำลังทางทหาร เช่น ทหารทำรัฐประหารยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีและคณะ

ในขณะที่คำว่า “ปฏิวัติ” มีความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศ โดยก่อนหน้าการปฏิวัติ มักมีการยึดอำนาจเกิดขึ้นก่อน ดังเช่นตอนที่คณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม

ในทางประวัติศาสตร์ทางภาษาของสองคำนี้ต้องย้อนไปไกลเป็นร้อย ๆ ปีรัฐประหารในภาษาอังกฤษเขียนว่า Coup หรือ Coup d’état อ่านว่า คูเดทา มีความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐโดยฉับพลัน

ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศสโดยปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ.1646 แต่เป็นที่ใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 หลังจากที่มีการรัฐประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมา หลายชาติก็ยืมคำนี้มาใช้ ประเทศที่แปลเป็นภาษาของตนก็แปลโดยเก็บความหมายเดิมไว้ เช่นในภาษาจีนเขียนว่า 政变 แปลตรงตัวว่า การเมือง+เปลี่ยนแปลง

ในขณะที่คำว่า “ปฏิวัติ” หรือ Revolution มีรากศัพท์เป็นภาษาละตินว่า Revolutio ที่แปลว่าการหมุนกลับ ปรากฏการใช้ครั้งแรกในราวๆปี ค.ศ. 1,450 แต่เป็นที่รู้จักที่สุดตั้งปี ค.ศ. 1,688 เป็นต้นมาในช่วงที่มีการปฏิวัติการปกครองจักรวรรดิอังกฤษจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นปกครองโดยสภาสูงโดยให้กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญ

คำว่า”รัฐประหารและปฏิวัติ” ในภาษาไทย เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ที่ออกเสียงเหมือนกัน มีรากศัพท์จากภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งคาดว่าน่าจะแปลมาจากภาษาละตินอีกทีหนึ่งเพราะอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียนเหมือนกัน

การปฏิวัติและรัฐประหารครั้งแรกต้องย้อนไปราว 2100 ปีก่อน ในขณะที่จูเลียสซีซาร์ ยังเป็นนายพลยกทัพเข้ายึดกรุงโรมจากแครสซัสและยึดอำนาจเป็นของตน จึงถือว่านี่เป็นเป็นการรัฐประหารครั้งแรกของโลก ต่อมาหลังจากที่จูเลียสซีซาร์เสียชีวิต แคว้นใหญ่น้อยต่าง ๆ ก็สู้รบแย่งชิงอำนาจกันจนกระทั่ง ออกุสตุส ผู้มีศักดิ์เป็นบุตรบุญธรรมของจูเลียสซีซาร์ เข้ายึดอำนาจในกรุงโรมอย่างเบ็ดเสร็จและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิมีอำนาจตัดสินใจทุกอย่างของอาณาจักรโรมันซึ่งแต่เดิมโรมันใช้ระบบสาธารณรัฐ จึงถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของโลก

รู้หรือไม่?🤔
ครั้งหนึ่งศาลฎีกาไทยเคยตีความว่า การทำรัฐประหารมิได้ขัดต่อกฎหมายเพราะ “กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์”

แต่ทุกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 113 เขียนไว้ว่าการใช้กำลังหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวไม่ได้ ผิดฐานกบฎ ต้องโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต

#TheFeatures
#ปฏิวัติเเละรัฐประหารต่างกันยังไง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *