กฎหมายและสังคมไทยกดขี่เสรีภาพทางเพศและร่างกายอย่างไร : คุยกับ “ต้น” ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ LGBTQ และผู้ขายบริการทางเพศ

กฎหมายและสังคมไทยกดขี่เสรีภาพทางเพศและร่างกายอย่างไร : คุยกับ “ต้น” ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ LGBTQ และผู้ขายบริการทางเพศ

กฎหมายและสังคมไทยกดขี่เสรีภาพทางเพศและร่างกายอย่างไร : คุยกับ “ต้น” ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ LGBTQ และผู้ขายบริการทางเพศ 

คณะราษฎรปลดแอกยังคงเดินหน้าเรียกร้องการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในขณะเดียวกันก็มีการเรียกร้องอื่นๆที่มาคู่กับข้อเรียกร้องหลัก เช่น การปฏิรูปการศึกษา ส่วนอีกหนึ่งข้อเรียกร้องที่แหวกเข้ามาอยู่ในกระแสความเคลื่อนไหวหลัก คือข้อเรียกร้องด้านความเท่าเทียมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและสิทธิทางร่างกาย

“ต้น” ศิริศักดิ์ ไชยเทศ คือหนึ่งในแกนนำเคลื่อนไหวที่ขึ้นปราศัยในประเด็นนี้ เขาพุ่งชนประเด็นอย่างตรงไปตรงมาทุกครั้งที่จับไมค์ปราศัยบนเวทีด้วยวาทะอันเผ็ดร้อน แม้มีภูมิลำเนาอยู่ที่เชียงใหม่ ต้นเดินทางมากรุงเทพ “ทุกสัปดาห์” กว่าสิบปี เพื่อเดินหน้าเรียกร้องสิทธิความหลากหลายทางเพศและเสรีภาพทางร่างกาย  

อะไรผลักดันให้ “ต้น”เป็นนักต่อสู้ กฎหมายไทยกดขี่เสรีภาพทางเพศและร่างกายอย่างไร อะไรคือมายาคติที่ครอบสิทธิเหล่านี้ไว้…

จุดเริ่มมาเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิ LGBTQ และผู้ขายบริการทางเพศ ?

“แรงผลักดันที่ทำให้เรามาสู้ตรงนี้ เพราะเราเป็น LGBT และถูกกดทับจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิมาตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว มันเลยทำให้เป็นแรงผลักดันให้เราอยากมาต่อสู้ตรงนี้ และเรารู้ว่าประเทศไทยเองไม่ได้มีกฎหมายหรือสิทธิต่างๆ ที่จะมาคุ้มครองคุณภาพชีวิตของ LGBT” 

“ตอนเด็ก เราโดนบูลลี่สามเสต็ปพร้อมกัน เพราะเรามีครอบครัวพื้นเพมาจากเวียดนาม ถ้าภาษาที่ฟังดูไม่สวยงามก็อาจจะเป็นแรงงานต่างด้าว เราเลยโดนเหยียดเรื่องเชื้อชาติ สองคือสภาพร่างกายของเราที่เกิดมาแล้วไม่มีผม ส่วนสามคือ เรื่องเพศสภาพ เราเลยโดนล้อว่าเป็นกระเทยหัวล้าน ต่างด้าว แล้วยังไม่สวยอีก คือมันโดนแบบนี้มาตลอด

มันเลยเกิดความสะสมว่าการที่เราเกิดมาแตกต่างในเรื่องของรูปร่างหน้าตา ชาติพันธ์ เพศสภาพ ทำไมต้องโดนดูถูกเหยียดหยาม มันทำให้เราต้องออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ 

LGBTQ และผู้ขายบริการถูกกดขี่จากกฎหมายอย่างไร?

“กฎหมายปัจจุบันของประเทศไทยยึดโยงกับเพศกำเนิดทุกอัน ถ้ามันยังมีการระบุว่าเพศกำเนิดคือชายและหญิงเท่านั้น คำว่าเพศหลากหลายก็ใช้ไม่ได้ อาทิเช่น กฎหมายแต่งงาน กฎหมายในบัตรประชาชน การรับรองเพศสภาพต่างๆก็มีแค่ชายและหญิง การเรียนการสอน นโยบายมหาวิทยาลัยก็ใช้ชายและหญิง  ทำให้คนที่เป็น LGBT ที่ไม่ใช่ชายและหญิงก็ใช้ไม่ได้ กลายเป็นตัวแปลกประหลาด พูดง่ายๆคือตัวบทกฎหมายมันยึดโยงกับเพศกำเนิด คำว่าชายและหญิง ทำให้เพศหลากหลายที่ไม่อยู่ในกรอบของชายและหญิง ก็จะถูกผลักออกไป ทำให้ไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ทุกฉบับ 

ส่วนพรบ.ที่กดขี่ข่มเหงพนักงานบริการทางเพศก็คือ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีปีพ.ศ. 2539 พรบ.นี้ไม่ได้คุ้มครองพนักงานบริการทางเพศ มีแต่ละเมิด เพราะชื่อมันก็บอกว่าป้องกันปราบปราม ป้องกันไม่ให้เกิดอาชีพนี้ ทำไมคุณต้องมาป้องกันสิทธิในการทำงาน สิทธิทางร่างกายของคนที่อยากทำอาชีพนี้ การทำอาชีพนี้ทำไมคุณต้องมาปราบปราม เพราะมันเป็นอาชีพสุจริตสร้างรายได้ และเราไม่ได้เห็นด้วยกับการที่มีผู้เยาว์ แต่เราพูดถึงคนที่มีความสมัครใจทำอาชีพนี้ และเขาประเมินแล้วว่ามันดูแลชีวิตและครอบครัวของเขาได้ ถือว่ามันเป็นอาชีพหนึ่ง

ข้อเรียกร้องมีอะไรบ้าง 

ข้อเรียกร้องที่เรากำลังทำอยู่ หลักๆคือการผลักดันเรื่องสมผสเท่าเทียม ให้แก้ไขกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ทุกคนทุกเพศจดทะเบียนได้เหมือนคู่ชายหญิงทั่วไป อาจจะมีการแก้คำว่า ชายหญิงเป็นบุคคล นอกจากนั้นก็มีเรื่องของการมีกฎหมายหรือพรบ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศสภาพโดยที่ไร้เงื่อนไข ไม่ต้องมีเงื่อนไขว่าต้องผ่านกระบวนการทางการแพทย์มาก่อน เพราะเราไม่ใช่โรคจิต จะให้หมอมารับรองว่าคุณไม่ใช่โรคจิต คุณเป็นกะเทยมันไม่ได้ ต้องรับรองอัตลักษณ์ทางเพศโดยเจตจำนงของบุคคล และต้องรวมไปถึงคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศอื่นๆที่ไม่อยู่ในกรอบชายหญิง 

นอกจากนั้นเราก็มีรณรงค์การยุติการเลือกปฏิบัติ เรามีพรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปี พ.ศ. 2558 แต่พรบ.นี้มีข้อจำกัดเรื่องของศาสนาและความมั่นคง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมจะไปฟ้องร้องทำไมไม่ให้กะเทยบวช อันนี้ทำไม่ได้ เพราะมันอยู่ในเรื่องศาสนา เราเลยรณรงค์ให้ยกเลิกข้อจำกัดนี้ออก เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงพรบ.นี้ได้อย่างมีเสรีภาพและใช้ได้จริง

มีคนว่าสิทธิ LGBTQ ในเมืองไทยมีมากอยู่แล้ว 

“คำว่าสิทธิคุณต้องแยกออกระหว่างสิทธิการแสดงออกและสิทธิทางกฎหมาย ประเทศไทยอยู่กับความเคยชิน ถูกสมญาณามว่าเป็นเกย์ พาราไดซ์ เป็น LGBT of Paradise ดินแดนสวรรค์แห่ง LGBT แต่ปากว่าตาขยิบ เรากำลังพูดถึงสิทธิการแสดงออก แต่เรายังไม่มีกฎหมายในการรับรองคุณภาพชีวิตของคนที่มีความหลากหลายทางเพศและพนักงานบริการเลย”

“เราต้องแยกเรื่องของการแสดงออกกับสิทธิทางกฎหมาย แสดงออกได้และต้องมีกฎหมายรับรองคุณภาพชีวิตเราด้วย แต่ตอนนี้มันยังไม่มี”

ถ้ามีการแก้พรบ.ป้องกันปราบปรามการค้าประเวณี จะมีคนออกทำอาชีพนี้กันเยอะ 

อาชีพนี้ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ มันต้องใช้ทักษะมากมาย อย่าคิดว่ามันทำง่าย มันไม่ใช่มาถึงแล้วนอนถ่างขา ต้องมีทักษะการนวด เต้น การดูแลสุขภาพร่างกายหน้าตาให้ดูดีอยู่เสมอๆ ไม่ใช่ใครอยากเป็นก็เป็น 

และเราไม่ได้เห็นด้วยกับการให้เด็กมาทำอาชีพนี้ เราต้องการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน คือห้ามเด็กทำงาน ถ้าคุณทำให้เราเป็นอาชีพปุ๊บ กฎหมายแรงงานก็มาดูแล ร้านไหนมีการละเมิดสิทธิเด็กก็สามารถลงโทษได้ ถ้ามีเด็กเข้ามาทำงานจริง ก็มีพรบ.คุ้มครองเด็ก พรบ.คุ้มครองการค้ามนุษย์ กฎหมายอาญา กฎหมายแรงงาน 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *