ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของไทย เเล้วเค้าถูกปฎิบัติอย่างคู่ควรหรือยัง?

ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของไทย เเล้วเค้าถูกปฎิบัติอย่างคู่ควรหรือยัง?

สิทธิช้าง สิทธิสัตว์ : เมื่อช้างเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เเล้วเราปฎิบัติต่อช้างให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศเเล้วหรือยัง?

ใน 1 ปีที่ผ่านมาปัญหาเรื่อง ช้าง ไม่ได้รับการรักษาปัญหา การทารุณกรรมสัตว์กำลังกลายเป็นประเด็นที่ต่างชาติกำลังจ้องมอง บ้านเรามีการใช้อุตสาหกรรมช้างเพื่อทำการท่องเที่ยว เป็นการใช้ช้างที่เราเอามาบริการการท่องเที่ยว การเข้ามาใช้บริการช้างเเต่ละครั้ง นักท่องเที่ยวจะเห็นการทารุณกรรมต่อหน้า ไม่ว่าจะเป็นการทุบตีช้าง การมัดช้าง การให้อาหารช้าง ช้างผอม ช้างเเก่ ช้างเด็ก ช้างพิการ ช้างท้อง สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งคนไทยไม่ค่อยรับรู้มาก The Features ได้พูดคุยกับ คุณแสงเดือน ชัยเลิศ หรือแม่เล็ก ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง Elephant Nature Park อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ผ่านมุมมองคนที่อยู่กับช้างมากว่า 30 ปี จนก่อเป็นความรักเเละผูกพันกับช้าง และตอนนี้พยายามส่งเสียงเรียกร้องเรื่องสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์ในประเทศไทยผ่านกลไกของระบบรัฐสภาเเละการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิสัตว์ 

แม่เล็กเล่าว่า ถ้าคนเราใช้สัตว์ก็ต้องดูเเลสวัสดิภาพเขาให้ถูกต้อง เเต่ประเทศไทยเรายังไม่มีจุดนี้ ดังนั้น ควรออกกฎในการควบคุมชีวิต ความเป็นอยู่ในกรอบสวัสดิภาพสัตว์หรือ five freedoms of animal welfare ที่ประกอบไปด้วย

  1. อิสรภาพจากความหิวโหย
  2. อิสรภาพจากความกลัว 
  3. อิสรภาพจากการเจ็บป่วยเเละได้รับการรักษา
  4. อิสรภาพการเเสดงออกตามธรรมชาติของตัวเอง เช่น เขาเป็นช้าง เเต่จับล่ามโซ่เขาเป็นเเพนด้าไม่ได้ เขาต้องมีสิทธิ์ในการเเสดงออก เรียกว่าเป็นการเเสดงออกตามสิทธิที่เป็นช้าง
  5. อิสรภาพต่อการดำรงอยู่ที่เข้ากับสภาพตามวิถีทางของธรรมชาติได้มากที่สุด เช่น เขาเป็นช้าง เขาควรได้รับการอาบน้ำ ว่ายน้ำ เขาควรรได้เล่นโคลน เขาต้องได้เข้าป่าเป็นบางครั้ง ไม่ใช่มัดเขาอยู่ห้องคอนกรีตตลอด 24 ชม. 365 วัน นั้นเขาเรียกว่าการไร้อิสรภาพ
คุณแสงเดือน ชัยเลิศ (แม่เล็ก)
คุณแสงเดือน ชัยเลิศ (แม่เล็ก)
ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง Elephant Nature Park จ.เชียงใหม่

เเม่เล็กเล่าวส่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของเรายังมองไม่เห็นทั้งห้าจุดนี้ มันเลยทำให้การท่องเที่ยวของเราส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องของสวัสดิภาพสัตว์ เรื่องนี้ของเรายังล้าหลัง ยังไม่ถึงขั้นมาตรฐาน ในเมื่อเราจะหาเงินกับสัตว์ ไทยชูโรงเรื่องช้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เเละไม่มีใครสามารถปฎิเสธได้เลยว่า ช้างเป็นตัวทำเงินให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 

อุปสรรคของประเทศไทยที่ไม่สามารถออกกฎหมายสิทธิสัตว์ได้ยากคือ?

ประเทศไทยบอกว่าช้างเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เเต่เราไม่เคยปฎิบัติต่อสัตว์ให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เราอยากปฎิบัติให้มีการยกย่องเคารพนับถือ เเต่เรากลับปล่อยให้มีการปฎิบัติใช้สัตว์เเบบสะเปะสะปะโดยไร้ซึ่งอิสรภาพ ส่วนนี้เเม่เล็กคิดว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดว่ามันถึงเวลาเเล้วที่เราจะต้องมาดำเนินการอะไรก็ตามก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างมันจะเลวร้ายเกินไป ที่หนักก็คือ ในรอบหลายปีที่ผ่านมาก็มีการร้องเรียนเยอะมากในเรื่องของสวัสดิภาพของช้าง หนังสือพิมพ์ทั่วโลกนำเสนอข่าวการทารุณกรรมช้าง 

เเม่เล็กทำงานเกี่ยวกับสิทธิสัตว์ เวลาเเม่เล็กไปประชุมที่ไหน สิ่งเเรกที่ขึ้นมาบนจอที่เขาจะต้องโชว์ เเม่เล็กก็จะใจหายเเล้วว่า นั่นคือ ช้างประเทศไทยที่มาคู่กับ TOPIC THAILAND มันก็กลายเป็นประเด็นว่า เราไม่สามารถปฎิเสธได้เเล้วว่าเราไม่ได้มีปัญหาเรื่องสิทธิสัตว์ ในเมื่อเขาวิพากษ์วิจารณ์เรา เขาประณามเรา เราต้องนำสิ่งเหล่านั้นมาปิดจุดอ่อน เเต่พอมาถึงประเทศเรา คนหน่วยงานรัฐกลับมองว่าคน ๆ นี้กลายเป็นพวกกบฎ พวกไม่รักชาติ มีอะไรก็ไปเข้ากับคนต่างชาติ มันไม่ใช่ค่ะ วิธีการทำงานของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิสัตว์ กับหน่วยงานรัฐบาลไม่เหมือนกัน เรามองว่าจะมีปัญหาตัวไหน เราต้องปิด มันไม่ใช่ 

ขณะที่โลกหมุนตัวไปข้างหน้า เราจะต้องหมุนตามกับเขา เราต้องมาเข้าใจเรื่องสิทธิสัตว์ให้เข้าใจเเละชัดเจน มันเลยกลายเป็นประเด็นที่ว่า ทุกวันนี้พยายามต่อสู้เข้ามาเรื่องสิทธิสัตว์ว่าทุกวันนี้มันยังไม่เป็นที่เข้าใจ

ขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างไรในกลไกของระบบรัฐสภา ?

ปัจจุบันแม่เล็กเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เธอเล่าว่าเวลานี้ไม่สนใจเรื่องช้างไม่ได้แล้ว เพราะว่าเสียงมันดังไปข้างนอกประเทศ

“รัฐสภา โดยเฉพาะ ส.ส. ซึ่งเเม่เล็กเข้ามานั่งเป็นกรรมาธิการเเละเข้ามาเป็นที่ปรึกษาอยู่หลายชุดเนี่ย เเม่เล็กเริ่มรู้ทันทีว่าจากมุมมองทัศนคติที่เราฟังอยู่ซึ่งพยายามจะนำเสนอ เรามาฟังมุมมองของนักการเมืองไทย กลับมองเรื่องสัตว์เป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่เรื่องสัตว์เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก เขามองสัตว์ว่าก็คือสัตว์ ไม่ใช่คน เขามองว่าสัตว์ไม่ใช่ผู้ที่มาโหวตให้เขา สัตว์ไม่ได้มาให้คะเเนนเขา สัตว์ป่วยไม่เป็นไร เเต่หารู้ไม่ เขาลืมไปว่า วันนี้เรากำลังประสบปัญหาโควิด-19 เราประสบปัญหาโรคไข้หวัดนก เมิร์ส โรคซาร์ส ไข้ทุกอย่างที่มามันเริ่มต้นมาจากการป่วยของสัตว์หนึ่งตัวก่อนนะคะ สัตว์หนึ่งตัวถ้าป่วยในตลาด เเต่เราไม่ให้ความสนใจเขา สัตว์ตัวนั้นก็จะเเพร่โรคกระจายจากหนึ่งตัวไปสู่พันตัว ถ้าเเพร่กระจายเยอะ ๆ ถ้าเกิดเจ้าของฟาร์มไม่มีความรับผิดชอบ ฆ่าสัตว์เหล่านั้น เเล้วมาขายในตลาด ถามว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ถ้าเราไม่สร้างมาตรฐานให้ดีขึ้น โรคเหล่านั้นมาถึงมนุษย์ใช่ไหม เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับสาธารณสุขไหม เเน่นอน เรื่องของสัตว์กำลังเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพของมนุษย์” 

ถ้าประเทศไทยเรามาบริหารจัดการเรื่องเเค่สวัสดิภาพสัตว์ เราไม่ต้องพูดถึงสิทธิสัตว์ เพราะสิทธิสัตว์คนอาจจะไม่ยอมรับ เเต่ถ้าเข้ามาถึงสวัสดิภาพสัตว์ ดูเเลสัตว์ให้ดี สุขภาพประชาชนก็จะดีขึ้น เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่าประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์ สัตว์ที่ได้มาต้องเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่เป็นโรค เราพูดเรื่องขั้นพื้นฐานเลย เเต่เป็นที่น่าเสียดายที่รัฐสภายังไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้” 

จากประสบการณ์ที่พบเจอปัญหาทั้งจากบทบาทเป็นผู้ลงมือทำเองและเป็นส่วนหนึ่งของกลไกรัฐสภาคิดว่าสิ่งแรกที่ควรแก้ไขของปัญหาช้างและสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศไทยคืออะไร

“เส้นเเรก เริ่มเเก้ที่กฎหมาย กฎหมายคุ้มครองสัตว์ กฎหมายเป็นคำตอบเดียวเท่านั้น ถ้าเราไม่มีกฎหมายนะ มันไม่มีทางที่จะเเก้ไขปัญหาเรื่องอะไรได้ มันต้องมีกฎหมายที่ชัดเจน เป็นกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อนายทุน ส่วนใหญ่ต่างประเทศออกกันหมด เเต่บ้านเรายังไม่มีกฎหมาย เรามัวเเต่รีรอว่าเราจะออกกฎหมายดีไม่ดี กังวลว่ามันจะไปกระทบใครบ้าง ถ้าเราไม่ออกกฎหมายพวกนี้ออกมาเลย จะทำให้ทั่วโลกครหาว่าไทยไม่สนใจอะไรเลย มันก็กลายเป็นว่าเราไม่มีสิทธิขั้นพื้นฐาน เราต้องเข้าใจว่าปัจจุบันนี้เราถูกเเบนเรื่องอะไรบ้าง แล้วทำมัน”

อีกท่านที่เราเข้าไปพูดคุย คือ  ส.ส. นิติพล ผิวเหมาะ อดีตทนายความด้านสวัสดิภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่ได้ร่วมงานกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้ามาทำงานในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหนึ่งในคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีความคิดว่า ช้างพูดภาษาคนไม่ได้ เขาจึงต้องมาต่อสู้เพื่อพวกมัน

ระบุเพิ่มเติมว่าที่ร้องเรียนเข้ามาในคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นเกี่ยวกับช้าง ด้วยเหตุผล 3 ประการ ในกรณีช้างบ้านคือ 

1. เนื่องจากช้าง 1 ตัว กินเยอะมาก เขากิน 10% ของน้ำหนักตัว ราวๆ 200 กก. / วัน คิดเป็นเงินค่าอาอาหารประมาณ 1,500 บาท/ตัว ดังนั้น ข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ คือ เเหล่งอาหารไม่เพียงพอสำหรับช้าง

2. เรื่องสุขภาพช้าง ยังต้องการรับการสนับสนุนด้านนี้อย่างมาก สัตวแพทย์ต้องดูแลเรื่องเหล่านี้ด้วย

3. ประสบปัญหาเรื่องการท่องเที่ยว ธุรกิจปางช้าง ส่วนหนึ่งเดิมที ปางช้างเป็นธุรกิจที่กำลังเเย่ก่อนจะมีโควิดเข้ามาด้วยซ้ำ เนื่องเพราะ 10 ปีให้หลัง เทรนด์โลกเรื่องท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เปลี่ยนไปแล้ว ประเทศที่พัฒนาเเล้ว เขาเริ่มเรียนรู้มากขึ้นว่าการนำช้างมาแสดงละครแบบนั้นมันเป็นธรรมชาติของช้างหรือไม่ ตลาดหลักของคนที่ไปเที่ยวปางช้าง กลุ่มตลาดหลักคือ นักท่องเที่ยวโซนเอเชีย

ช้างบ้าน ช้างป่า จะแยกกันโดยเด็ดขาด ความแตกต่าของช้างป่าและบ้าน กล่าวคือ ช้างบ้านจะมีตั๋วรูปพรรณ เพราะช้างบ้านตามกฎหมายมันคือ อสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่ต้องมีการจดทะเบียน เพราะฉะนั้นช้างบ้านที่ถูกกฎหมายจะมีตั๋วรูปพรรณช้าง ไว้ระบุลักษณะร่างกายของช้างแล้วฝังไมโครชิพ ส่วนช้างป่า คือ ช้างที่ไม่มีตั๋วรูปพรรณทั้งหมดนี่เอง ไม่ว่าเจอในป่าหรือในพื้นที่ของชาวบ้าน

หากวิเคราะห์เเล้วดูเหมือนว่า รัฐบาลยังไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องสิทธิสัตว์มากเท่าที่ควรจะเป็น ช้าง กำลังจะเป็นระเบิดเวลาเล่นประเทศไทย สิ่งที่คนทำงานยังสื่อเสมอ คือ ไทยเราไม่ควรซุกปัญหาไว้ใต้พรม เรามาเเก้ปัญหาดีกว่า หน้าที่ของผู้มีอำนาจ ต้องดูเเลจัดการในเรื่องของการเเก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกันการสื่อสารองค์ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวที่เข้าใจธรรมชาติของสัตว์อย่างช้างยังมีการขับเคลื่อนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงเเม้ว่าต้องใช้เวลาอีกนาน…

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *